Nattapat

24 ตุลาคม 2024

รู้จัก Midjourney AI อัจริยะ พร้อมวิธีใช้งานฟรี

ในยุคที่เทคโนโลยี AI กำลังเปลี่ยนแปลงวงการครีเอทีฟ Midjourney ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้างภาพด้วย AI ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ด้วยความสามารถในการแปลงคำอธิบายธรรมดาให้กลายเป็นผลงานศิลปะที่สวยงามเหนือจินตนาการ ทำให้ Midjourney กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับทั้งนักออกแบบมืออาชีพและผู้ที่สนใจเลือกใช้ AI ออกแบบงานภาพ

ทำให้วันนี้ Sixtygram Digital Marketing Agency จะขอพาคุณไปรู้จักกับ Midjourney อย่างละเอียด ตั้งแต่วิธีการใช้งานฟรีขั้นพื้นฐานไปจนถึงเทคนิคขั้นสูง รวมถึงแนะนำแพ็คเกจราคาและกลุ่มผู้ใช้งานที่เหมาะสม เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเครื่องมือ AI อันทรงพลังนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกันครับ

Midjourney คืออะไร

Midjourney ภาพ

Midjourney คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง หรือ Generative AI สายสร้างภาพประกอบ ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 โดยถูกพัฒนาขึ้นในแล็บวิจัยขนาดเล็กในชื่อเดียวกัน โดยมีผู้ก่อตั้ง Midjourney คือ David Holz ผู้คร่ำหวอดในวงการไอที อดีตนักวิจัยด้านประสาทวิทยาของ NASA และเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทฮาร์ดแวร์ Leap Motion 

สิ่งที่น่าสนใจคือทีมผู้พัฒนา Midjourney นั้นมีทีมงานพัฒนาเพียงแค่ 10 ชีวิตเท่านั้น และพัฒนาขึ้นโดยไม่มีนักลงทุนใดเพื่อเป้าหมายที่ไร้การแสวงหาผลกำไรอย่างสิ้นเชิงในช่วงเริ่มต้น นั่นทำให้เจตนาของทุกคนที่ร่วมพัฒนา Midjourney ล้วนมุ่งมั่นในการทำงานในโครงการนี้ด้วยความสนใจส่วนตัวที่มีต่อเทคโนโลยี AI ร่วมกับแรงผลักดันเพื่อให้ความสนุกสนานแก่ผู้ใช้เป็นหลัก

Midjourney

Midjourney AI ใช้งานฟรีหรือไม่?

ล่าสุด Midjourney ได้กลับมาเปิดให้ใช้งานฟรีอีกครั้ง โดย David Holz ซีอีโอของบริษัทได้ประกาศว่าผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Midjourney และสร้างภาพได้ฟรีสูงสุด 25 ภาพ ก่อนที่จะตัดสินใจสมัครสมาชิกแบบเต็มรูปแบบ

สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานต่อหลังจากครบ 25 ภาพแล้ว Midjourney จะมีแพ็คเกจสมาชิกแบบชำระเงินให้เลือก 4 ระดับ ได้แก่ 1.Basic Plan, 2.Standard Plan 3.Pro Plan และ 4.Mega Plan ซึ่งมีความแตกต่างของแต่ละแพ็คเกจดังตารางต่อไปนี้

แพ็คเกจ1.Basic Plan2.Standard Plan3.Pro Plan4.Mega Plan
ค่าสมาชิกรายเดือน$10 (≈330 บาท)$30 (≈990 บาท)$60 (≈1,980 บาท)$120 (≈3,960 บาท)
ค่าสมาชิกรายปี$96 (≈3,168 บาท)
(เฉลี่ย $8/เดือน)
$288 (≈9,504 บาท)
(เฉลี่ย $24/เดือน)
$576 (≈19,008 บาท)
(เฉลี่ย $48/เดือน)
$1,152 (≈38,016 บาท)
(เฉลี่ย $96/เดือน)
เวลา GPU แบบเร็ว3.3 ชั่วโมง/เดือน15 ชั่วโมง/เดือน30 ชั่วโมง/เดือน60 ชั่วโมง/เดือน
เวลา GPU ทั่วไปไม่จำกัดไม่จำกัดไม่จำกัด
ซื้อเวลา GPU เพิ่ม$4/ชั่วโมง$4/ชั่วโมง$4/ชั่วโมง$4/ชั่วโมง
ทำงานแบบส่วนตัว
Stealth Mode
ใช้งานพร้อมกันสูงสุด3 งาน
รอคิว 10 งาน
3 งาน
รอคิว 10 งาน
12 งานเร็ว
3 งานผ่อนคลาย
รอคิว 10 งาน
12 งานเร็ว
3 งานผ่อนคลาย
รอคิว 10 งาน
คะแนนเพื่อรับเวลาฟรี
สิทธิ์การใช้งานทั่วไปและเชิงพาณิชย์ทั่วไปและเชิงพาณิชย์ทั่วไปและเชิงพาณิชย์ทั่วไปและเชิงพาณิชย์
อ้างอิงจาก Subscription Plans บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ หมายเหตุ: หากคุณเคยสมัครสมาชิกมาก่อน คุณสามารถใช้ภาพที่สร้างได้อย่างอิสระ แต่บริษัทที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีจะต้องสมัครแพ็คเกจ Pro หรือ Mega เท่านั้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน Terms of Service ของ Midjourney

นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากรูปแบบเดิมเมื่อสองปีก่อน ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้งานผ่าน Discord เท่านั้น นอกจากนี้ การใช้งานผ่านเว็บไซต์โดยตรงเดิมทีจำกัดเฉพาะผู้ที่เคยสร้างภาพผ่าน Discord ของ Midjourney มาแล้วอย่างน้อย 10,000 ภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เข้าถึงได้ยาก

Midjourney เข้าสู่ระบบ

การเริ่มใช้งานฟรีของ Midjourney ทำได้ง่ายเพียงมีบัญชี Google หรือ Discord โดยผู้ที่เคยใช้ Midjourney ผ่าน Discord มาก่อนสามารถเข้าสู่ระบบและดูภาพที่เคยสร้างไว้ได้ ส่วนผู้ใช้ใหม่สามารถสร้างบัญชีด้วย Google ได้ทันที และผู้ใช้ Discord สามารถเพิ่มบัญชี Google เข้าไปภายหลังเพื่อใช้ในการเข้าสู่ระบบในอนาคตได้อีกด้วย

ความน่าสนใจของ Midjourney

Midjourney เป็นเครื่องมือสร้างภาพด้วย AI ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในระดับมืออาชีพ โดดเด่นด้วยความสะดวกในการใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดแอพเพื่อใช้งาน เพราะ Midjourney นั้นสามารถทำงานได้ผ่าน Discord chat ทันที ความพิเศษของ Midjourney อยู่ที่ความสามารถในการสร้างภาพได้ทุกอย่างตามจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายที่ดูสมจริง หรือภาพสเก็ตช์ในแบบแฟนตาซี ซึ่ง Midjourney ใช้เวลาประมวลผลเพียงประมาณหนึ่งนาทีต่อภาพบน GPU ทั่วไป แต่อาจใช้เวลานานขึ้นสำหรับการปรับขนาดภาพ (upscaling) หรือการใช้โมเดล AI รุ่นเก่า

Midjourney GPUs

ในด้านประโยชน์การใช้งาน Midjourney ยังเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับนักศิลปินสร้างสรรค์ ที่จะช่วยจุดประกายความคิดและประหยัดเวลาในกระบวนการทำงาน ผู้ใช้สามารถทดลองสร้างงานในสไตล์ศิลปะที่หลากหลาย พร้อมชุมชนใน Discord ที่เปิดโอกาสให้แบ่งปันผลงานและแลกเปลี่ยนไอเดียกัน ทำให้ Midjourney เหมาะสำหรับงานสำหรับมืออาชีพในหลายด้าน ทั้งกราฟิกดีไซน์ งานโฆษณา และงานภาพประกอบบทความทั่วไป

ปัจจุบัน Midjourney มาพร้อมฟีเจอร์พิเศษที่น่าสนใจ เช่น โหมด Stealth สำหรับสร้างภาพแบบส่วนตัว และ Character Reference ที่ช่วยให้สร้างตัวละครจากภาพต้นแบบได้ ทั้งนี้ หากเทียบกับคู่แข่งอย่าง DALL-E 2 จาก OpenAI ที่เน้นการสร้างภาพผ่านการป้อนข้อความและสามารถใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์ม Microsoft ได้ หรือ Stable Diffusion ที่โดดเด่นด้านความสามารถในการทำงานบนคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่มี GPU แบบ 8 GB VRAM Midjourney ก็ยังคงรักษาจุดแข็งด้านคุณภาพของภาพและความยืดหยุ่นที่ง่ายในการใช้งานที่มากที่สุด

Midjourney ฟีเจอร์

ในด้านประสิทธิภาพการทำงาน Midjourney ทำให้การสร้างภาพแต่ละครั้งผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้หลากหลายสไตล์ในคราวเดียว ตั้งแต่การกำหนดอัตราส่วนภาพที่ไม่ใช่มาตรฐาน ไปจนถึงการสร้างภาพหลายเวอร์ชันในคราวเดียว(Variations) หรือการปรับลดคุณภาพเพื่อความเร็วในการประมวลผล ทำให้ Midjourney เป็นเครื่องมือที่ยืดหยุ่นและตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ การทดลอง หรือการสร้างผลงานระดับมืออาชีพ เป็นต้น

การใช้ Prompt เพื่อสั่งการ Midjourney

การสร้างภาพใน Midjourney อาศัยระบบ Prompt หรือคำสั่งที่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่

ประเภท Prompt Midjourney

1. Image Prompt

ส่วนแรกคือ Image Prompt ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ AI โดยสามารถใส่ URL ของรูปภาพอ้างอิง (.png หรือ .jpg) ได้หลายรูป เพียงเว้นวรรคระหว่าง URL แต่ละอัน โดยปกติ Image Prompt จะมีน้ำหนัก (Weight) อยู่ที่ 0.25 หรือ 25% เมื่อเทียบกับ Text Prompt แต่สามารถปรับเพิ่มลดได้ผ่านพารามิเตอร์ –iw

2. Text Prompt

ส่วนที่สองคือ Text Prompt ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด สามารถใส่คำบรรยายได้สูงสุด 60 คำ ไม่เกิน 6,000 ตัวอักษร โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องตัวพิมพ์เล็กหรือใหญ่ ผู้ใช้ควรระบุรายละเอียดสำคัญให้ครบถ้วน เช่น ตัวหลักของภาพ (subject) จะเป็นคน สัตว์ สถานที่ หรือวัตถุ, รูปแบบของงาน (medium) เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประกอบ, สภาพแวดล้อม (environment), แสง (lighting), สี (color), อารมณ์ (mood) และองค์ประกอบภาพ (composition) ยิ่งให้รายละเอียดชัดเจน ยิ่งควบคุมผลลัพธ์ได้ดี

3. Parameters

วนสุดท้ายคือ Parameters ที่ขึ้นต้นด้วยเครื่องหมาย ใช้สำหรับปรับแต่งการสร้างภาพในด้านต่างๆ เช่น –stop number สำหรับหยุดการสร้างภาพที่เปอร์เซ็นต์ที่กำหนด, –seed number สำหรับกำหนดค่าสุ่มเพื่อให้ได้ภาพคล้ายเดิม, –ar h:w สำหรับกำหนดสัดส่วนภาพ, –no สำหรับระบุสิ่งที่ไม่ต้องการให้ปรากฏในภาพ และ –video สำหรับบันทึกขั้นตอนการสร้างภาพเป็นวิดีโอ นอกจากนี้ยังมีพารามิเตอร์อื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งผลลัพธ์ได้ตามต้องการ

สรุปแล้วการใช้ Prompt ใน Midjourney นั้นมีความยืดหยุ่นสูง แม้การใส่คำง่ายๆ เพียงคำเดียว เช่น “cat” หรือใช้อิโมจิ “🐱” ก็สามารถสร้างภาพแมวได้แล้ว โดย Midjourney จะใช้สไตล์การวาดภาพเริ่มต้น(default style) และเติมเต็มรายละเอียดที่ขาดหายไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ของ AI เอง ซึ่งอาจให้ผลลัพธ์ที่น่าประหลาดใจและสร้างสรรค์ แต่อาจไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม หากต้องการภาพที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง การใส่รายละเอียดที่ครบถ้วนจะช่วยให้ควบคุมผลลัพธ์ได้ดีกว่า(แนะนำให้เขียนอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ) เช่น แทนที่จะพิมพ์แค่ “cat” เราอาจใช้ Prompt ว่า “A fluffy orange tabby cat sitting by a window, soft morning light, cozy atmosphere, detailed fur texture, professional photography, 85mm lens” ซึ่งระบุรายละเอียดทั้งลักษณะของแมว สภาพแวดล้อม แสง บรรยากาศ พื้นผิว และเทคนิคการถ่ายภาพ ทำให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น

การให้รายละเอียดที่ชัดเจนยังช่วยลดความคลุมเครือและการตีความที่ผิดพลาดของ AI ยิ่งเราสามารถอธิบายภาพที่ต้องการได้ละเอียดเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ก็ต้องระวังไม่ให้ Prompt ยาวเกินไปจนสับสน โดยควรเน้นเฉพาะรายละเอียดที่สำคัญและส่งผลต่อภาพที่ต้องการจริงๆ

เทคนิคการใช้งาน Midjourney AI ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี

การใช้งาน Midjourney AI ให้มีประสิทธิภาพนั้น เริ่มต้นที่การเขียน Prompt ที่ดี ซึ่งต้องมีความกระชับแต่ได้ใจความ โดยระบุรายละเอียดที่สำคัญให้ชัดเจน แต่ไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดมากเกินไปจนทำให้ AI สับสน การเขียน Prompt ที่ดีจะช่วยให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการมากขึ้น และลดการทำงานซ้ำ
ตัวอย่าง แบบไม่ดี: “แมวสมจริง”
แบบดี: “แมวสมจริงขนยาวสีขาวตาสีฟ้า” เป็นต้น

การระบุสไตล์และเทคนิคก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญในการใช้งาน Midjourney โดยผู้ใช้ควรระบุคำที่บ่งบอกสไตล์ศิลปะที่ต้องการ รวมถึงเทคนิคที่ใช้ในการสร้างภาพให้ชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถอ้างอิงยุคสมัยเพื่อให้ได้ลักษณะเฉพาะของงานศิลปะในยุคนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้ AI เข้าใจและสร้างภาพได้ตรงตามที่เราต้องการมากขึ้น
ตัวอย่าง “ภาพวาดสไตล์วิคตอเรียน” หรือ “ภาพถ่ายสไตล์ยุค 70” เป็นต้น

อีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจคือการผสมผสานแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน การรวมหลายแนวคิดหรือธีมที่แตกต่างกันจะช่วยสร้างความแปลกใหม่และความน่าสนใจให้กับผลงาน โดยเฉพาะการผสมผสานสิ่งที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกัน แต่เมื่อนำมารวมกันแล้วกลับสร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ตัวอย่าง “ซูเปอร์ฮีโร่แคนาเดียนในชุดธีมธงชาติ” หรือ “แมวนินจาในยุคเอโดะ” หรือเทคนิคเพิ่มแสงและเงาอย่าง “หอไอเฟลในแสงกลางวัน พร้อมแสงแบบภาพยนตร์” หรือ “ตึกระฟ้ายามค่ำคืนพร้อมแสงนีออนสะท้อน” เป็นต้น

Midjourney AI เหมาะกับใครมากที่สุด

ตัวอย่าง Midjourney

Midjourney AI เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้หลากหลายกลุ่มที่ต้องการสร้างสรรค์งานภาพโดยเฉพาะศิลปินมืออาชีพและยังเหมาะกับนักออกแบบมือสมัครเล่นที่ต้องการเครื่องมือช่วยในการทำงาน โดยกลุ่มแรกที่จะได้ประโยชน์สูงสุดในการประยุกต์ใช้ Midjourney AI นั่นคือนักออกแบบกราฟิกและเหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่สามารถใช้ Midjourney เป็นเครื่องมือช่วยสร้างแรงบันดาลใจหรือสร้างภาพต้นแบบสำหรับการพัฒนาต่อยอดหรือบรีฟจินตนาการให้ปรากฎภาพแก่ทีมงานได้

นอกจากนี้ Midjourney ยังเหมาะกับนักการตลาดและเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก(SME)ที่ต้องการสร้างภาพประกอบสำหรับแคมเปญโฆษณา สื่อโซเชียลมีเดีย หรือเว็บไซต์ โดยไม่ต้องจ้างช่างภาพหรือนักวาดภาพ ความสามารถในการสร้างภาพที่มีคุณภาพสูงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ Midjourney ช่วยให้การสร้างคอนเทนต์ทำได้รวดเร็วและประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย

สำหรับนักเรียนนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์หรือผู้ที่สนใจในการสร้างงานศิลปะ Midjourney ก็เป็นเครื่องมือที่ดีในการเรียนรู้และทดลองสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะขณะที่กำลังฝึกฝนตนให้มีทักษะการวาดภาพขั้นสูง Midjourney AI ทำให้ผู้เริ่มต้นสามารถสร้างผลงานที่น่าประทับใจได้และยังช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ผ่านการทดลองใช้ prompt ต่างๆ

กลุ่มสุดท้ายที่จะได้ประโยชน์คือนักพัฒนาเกม นักเขียน ไปจนถึงทีมงานกองถ่ายและผู้ทำงานโปรดักชั่นที่สามารถใช้ Midjourney ในการสร้างภาพแนวคิด(concept art) หรือการออกแบบตัวละครเบื้องต้นก่อนที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดโดยทีมงานมืออาชีพช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรในขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นได้อย่างดีเยี่ยม

conceptart จาก Midjourney

ข้อดีและข้อเสียของ Midjourney AI

ข้อดี

1. ช่วยประหยัดเวลาและต้นทุนในการสร้างงานภาพ

Midjourney AI มีจุดเด่นที่สำคัญในด้านประสิทธิภาพการทำงานและความคุ้มค่า โดยเฉพาะการช่วยลดระยะเวลาและต้นทุนในการสร้างงานภาพ ผู้ใช้สามารถสร้างภาพที่มีคุณภาพสูงได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ซึ่งปกติอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวันหากให้กราฟฟิคดีไซน์มืออาชีพทำ

2. ทำให้การบรีฟงานง่ายขึ้น

การใช้งาน Midjourney ผ่านระบบ prompt ช่วยให้การสื่อสารแนวคิดหรือความต้องการทำได้ง่ายและรวดเร็ว เพียงพิมพ์คำอธิบายที่ต้องการ ระบบก็สามารถประมวลผลและสร้างภาพที่ตรงตามความต้องการได้ในระดับที่น่าพอใจ แม้บางครั้งอาจไม่ตรงทั้งหมดแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

3. เรื่องคุณภาพของภาพที่สร้าง

จุดเด่นที่สำคัญคือคุณภาพของภาพที่สร้างขึ้น โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ที่มักให้ผลลัพธ์ที่สวยงามและสมจริง ด้วยความสามารถในการจัดการแสง สี และองค์ประกอบภาพได้อย่างลงตัว ทำให้เหมาะสำหรับการสร้างภาพประกอบในงานต่างๆ

4. มีตัวเลือกการใช้งานฟรี

 ผู้ใช้สามารถทดลองใช้งานระบบได้ฟรี แม้จะมีข้อจำกัดด้านจำนวน 25 ครั้ง แต่ก็เพียงพอสำหรับการทดลองและเรียนรู้การใช้งานเบื้องต้น ทำให้ผู้ที่สนใจสามารถประเมินความเหมาะสมก่อนตัดสินใจใช้งานแบบเต็มรูปแบบ

ข้อเสีย

1. ข้อจำกัดของระบบห้องแชทรวม

การใช้งาน Midjourney ในห้องแชท Discord แบบรวมสร้างความยากลำบากในการติดตามงานของตัวเอง โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้ใช้งานจำนวนมาก ทำให้การค้นหางานที่เคยสร้างหรือการจัดการไฟล์ทำได้ไม่สะดวกเท่าที่ควร

2. ข้อจำกัดในการแก้ไขงาน

การแก้ไขภาพแต่ละครั้งจะถูกนับเป็นการใช้งานใหม่ และด้วยระบบที่เป็นแบบเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทำให้ต้องคำนึงถึงต้นทุนในการแก้ไขงานแต่ละครั้ง การปรับแต่งงานให้ตรงตามความต้องการอาจเพิ่มค่าใช้จ่ายมากขึ้น

3. เกิดความซ้ำซ้อนของผลงาน

โดยเฉพาะในภาพ Portrait ที่มักมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจาก AI มีแนวโน้มที่จะสร้างใบหน้าในรูปแบบที่คล้ายกันเมื่อใช้คำสั่งที่คล้ายกัน ทำให้ขาดความหลากหลายและเอกลักษณ์เฉพาะตัว

4. ขาดความเป็นเอกลักษณ์

การใช้คีย์เวิร์ดที่เหมือนกันมักส่งผลให้ได้ภาพที่มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับผู้ใช้คนอื่น ทำให้ผลงานขาดความเป็นเอกลักษณ์และความแตกต่าง โดยเฉพาะเมื่อใช้คำสั่งที่เป็นที่นิยมหรือใช้กันทั่วไป

แง่มุมทางกฎหมายของ Midjourney

คดี Midjourney AI

ประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ในเดือนมกราคม 2023 มีการฟ้องร้องครั้งสำคัญโดยศิลปิน 3 คน ได้แก่ Sarah Andersen, Kelly McKernan และ Karla Ortiz ต่อบริษัท Stability AI, Midjourney และ DeviantArt โดยกล่าวหาว่าบริษัทเหล่านี้ละเมิดสิทธิของศิลปินนับล้านคน จากการใช้ภาพกว่า 5 พันล้านภาพจากอินเทอร์เน็ตในการฝึกฝน AI โดยไม่ได้รับความยินยอมจากศิลปินเจ้าของผลงาน

คดีนี้ถูกยื่นฟ้องที่ซานฟรานซิสโกโดยทนาย Matthew Butterick ร่วมกับ Joseph Saveri Law Firm ซึ่งเป็นทีมเดียวกับที่กำลังดำเนินคดีกับ Microsoft, GitHub และ OpenAI (ผู้พัฒนา ChatGPT และ DALL-E) ในเดือนกรกฎาคม 2023 ผู้พิพากษา William Orrick มีแนวโน้มที่จะยกฟ้องข้อกล่าวหาส่วนใหญ่ แต่อนุญาตให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ได้

ในเดือนพฤศจิกายน 2023 มีการยื่นฟ้องคดีใหม่ต่อ Midjourney, Stability AI, DeviantArt และ Runway AI โดยกล่าวหาว่าใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของศิลปินมากกว่า 4,700 คน โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเด็นด้านลิขสิทธิ์ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับเทคโนโลยี AI ในการสร้างภาพ

ผลกระทบต่อวงการศิลปะ

ประเด็นทางกฎหมายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความขัดแย้งระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี AI กับสิทธิของศิลปิน และอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวิธีการฝึกฝน AI รวมถึงการกำหนดมาตรฐานใหม่ในการใช้ผลงานศิลปะเพื่อพัฒนา AI ในอนาคต

ข้อควรระวังสำหรับผู้ใช้งาน

ผู้ใช้งาน Midjourney จึงควรตระหนักถึงประเด็นลิขสิทธิ์และการใช้งานที่เหมาะสม โดยเฉพาะเมื่อนำภาพที่สร้างจาก AI ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

TAG ที่เกี่ยวข้อง: