คอสเพลย์ (Cosplay) เป็นวัฒนธรรมย่อยที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทยและทั่วโลก แต่หลายคนอาจยังไม่เข้าใจว่าคอสเพลย์คืออะไร และมีประเภทอะไรบ้าง วันนี้ เราชาว Sixtygram เอเจนซี่การตลาดในไทย จึงอยากจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโลกของคอสเพลย์กันอย่างละเอียดกัน
คอสเพลย์ คืออะไร
คำว่าคอสเพลย์ หรือ “cosplay” มาจากการผสมคำระหว่าง “costume” (เครื่องแต่งกาย) และ “play” (การเล่น) ทำให้คอสเพลย์เยอร์กลายเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ที่มีความสนใจในด้านเสื้อผ้าทั้งการออกแบบเครื่องแต่งกายและการแสดงบทบาทสมมุติ(Role Play) ตามเครื่องแต่งกายที่ตนสวมใส่ นั่นเอง
การคอสเพลย์ของเหล่าคอสเพลย์เยอร์(นักคอสเพลย์)นั้นจำเป็นต้องใช้ทักษะหลายอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะการตัดเย็บผ้า การทำงานกับโฟมและเทอร์โมพลาสติก(Prop) การสร้างอุปกรณ์ประกอบฉาก การจัดแต่งวิกผม ไปจนถึงการแต่งหน้าด้วยเทคนิคพิเศษและอื่น ๆ เพื่อให้ทุกอย่างดูเหมือนกับตัวละครที่พวกเขาต้องการจะเป็นมากที่สุด
โดยตัวละครที่คอสเพลย์เยอร์เลือกมาแต่งตัวนั้นอาจมาจากหลากหลายแหล่งโดยไร้ข้อจำกัด เช่น จากหนังภาพยนตร์ วิดีโอเกม อนิเมะญี่ปุ่น หรือแม้แต่การออกแบบเครื่องแต่งกายขึ้นเอง ซึ่งสามารถเป็นอะไรก็ได้ตราบใดที่มันทำให้ความฝันของผู้คอสเพลย์นั้นเป็นกลายเป็นความจริง
ประเภทของการคอสเพลย์
โซเชียลมีเดียนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลัก ตามลักษณะเด่นของแต่ละแพลตฟอร์มได้ ดังนี้
1. คอสเพลย์แบบทั่วไป
เป็นประเภทที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด โดยผู้คอสเพลย์จะพยายามเลียนแบบตัวละครจากสื่อต่างๆ เช่น หนัง การ์ตูน หรืออนิเมะ ชุดคอสเพลย์ประเภทนี้อาจทำได้หลายวิธี เช่น
- ใช้เสื้อผ้าที่มีอยู่แล้วในบ้านมาผสมผสานกัน หรือ
- ซื้อชุดสำเร็จรูปจากร้านค้าทั่วไปหรือร้านเฉพาะทาง
2. คอสเพลย์แบบคัสตอม
แทนที่จะเลียนแบบตัวละครที่มีอยู่แล้ว คอสเพลย์แบบคัสตอมเป็นการสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ทั้งหมด หรือดัดแปลงตัวละครที่มีอยู่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น
- สร้างชุดตัวละคร Marvel ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ออกแบบเวอร์ชันใหม่ของตัวละครที่มีอยู่แล้ว เช่น Batman แบบสไตล์สตีมพังค์
3. คอสเพลย์เป็นกลุ่ม
คอสเพลย์ประเภทนี้เป็นการรวมตัวกันของเพื่อนๆ เพื่อคอสเพลย์เป็นกลุ่มตัวละครจากเรื่องเดียวกัน เช่น
- ทีมฮีโร่จาก Avengers
- กลุ่มนักเรียนจากอนิเมะ My Hero Academia
- ตัวละครทั้งหมดจากเกม Final Fantasy VII
- หน่วยรบพิเศษจากเกมส์ Call of Duty
โดยการคอสเพลย์แบบกลุ่มช่วยสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานและเป็นที่จดจำได้ง่ายในงานคอสเพลย์ที่ถูกจัดขึ้น
4. คอสเพลย์ Gijinka
Gijinka เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า “การทำให้เป็นมนุษย์” ในบริบทของคอสเพลย์ หมายถึงการแปลงตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ให้กลายเป็นรูปแบบมนุษย์ เช่น
- คอสโดยการแปลง Pikachu จาก Pokemon ให้เป็นมนุษย์
- ทำให้ตัวละครสัตว์จาก Animal Crossing มีร่างเป็นมนุษย์
การทำ Gijinka ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์สูง เพราะต้องตีความลักษณะเด่นของตัวละครและนำมาประยุกต์ใช้กับรูปร่างมนุษย์
5. คอสเพลย์ชุดขนสัตว์ (Fursuit)
ตรงกันข้ามกับ Gijinka คอสเพลย์ Fursuit เป็นการแต่งตัวให้เหมือนสัตว์มากที่สุด โดยสวมชุดขนยาวทั้งตัวพร้อมหัวสัตว์ ทำให้ดูเหมือนสัตว์ที่เดินสองขาได้ ตัวอย่างเช่น
- ชุด Pokemon แบบเต็มตัว
- ตัวละครจาก Zootopia
- สัตว์ในจินตนาการที่ออกแบบเอง
Fursuit มักจะพบเห็นได้ในงานประกวดเครื่องแต่งกายมากกว่างานคอสเพลย์ทั่วไป เนื่องจากการใช้ขนสัตว์หรือเฟอร์เป็นวัตถุดิบในการออกแบบและตัดเย็บเครื่องแต่งกายนับเป็นเรื่องที่ยุกยากที่สุด หรือหากใครสนใจลองเข้าชมที่กลุ่ม fursuitthailand ได้เลย
6. คอสเพลย์เปลี่ยนเพศ (Crossplay)
Crossplay คือการคอสเพลย์เป็นตัวละครที่มีเพศตรงข้ามกับผู้เล่น หรือที่เราคุ้นหูกันว่า “สาวดุ้น” คือการคอสเพลย์ให้ดูเหมือนตนเป็นเพศหญิงหากแต่แท้จริงแล้วเป็นเพศชายนั่นเอง ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น
- ผู้ชายแต่งเป็น Sailor Moon
- ผู้หญิงแต่งเป็น Naruto
Crossplay ในลักษระเช่นนี้ ต้องอาศัยทักษะการแต่งหน้าและการแต่งกาย รวมถึงทักษะการแสดง ที่ซับซ้อนเพื่อให้ดูเหมือนเพศตรงข้ามของคอสเพลย์เยอร์มากที่สุด
จุดประสงค์ของคอสเพลย์คืออะไร?
ผู้ที่เข้าร่วมกันคอสเพลย์ล้วนมีจุดประสงค์หลายประการ และนี่คือจุดประสงค์ของการคอสเพลย์เบื้องต้นว่าทำไปเพื่ออะไร ดังนี้
- การแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์: คอสเพลย์เป็นรูปแบบศิลปะที่ให้ผู้เล่นได้แสดงฝีมือในการสร้างชุดและแต่งหน้า
- การแสดงความรักให้กับตัวละคร: เป็นวิธีที่แฟนๆ แสดงความชื่นชอบในตัวละครที่พวกเขารัก
- การสร้างสังคมใหม่: คอสเพลย์ช่วยให้ผู้คนที่มีความสนใจเดียวกันได้พบปะและสร้างมิตรภาพ
- เพื่อความบันเทิง: ทั้งผู้เล่นและผู้ชมต่างได้รับความสนุกสนานจากการคอสเพลย์
- เพื่อหลีกหนีวิถีชีวิตทั่วไป: คอสเพลย์เปิดโอกาสให้ผู้คนได้สวมบทบาทเป็นคนอื่นชั่วคราว
คอสเพลย์จำเป็นต้องเคร่งครัดกับกฎหรือไม่?
แม้ว่าการคอสเพลย์จะไม่มีกฎตายตัวที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่เราอยากเน้นย้ำเสมอคือการทำตนให้มีความสุขและเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่น ยิ่งหากคุณเข้าร่วมการคอสเพลย์ในงานที่มีการจัดเตรียมกิจกรรมและตารางของงานคอสเพลย์ไว้อย่างเคร่งครัด ยิ่งมีข้อควรคำนึงบางประการเพื่อเป็นมารยาทที่ดีในการเข้าร่วมงานคอสเพลย์ ดังนี้
- แสดงออกตามความเหมาะสม: ในงานสาธารณะ ควรระวังเรื่องความโป๊เปลือยหรือการ Role ที่ใช้ความรุนแรง
- การเคารพวัฒนธรรม: หลีกเลี่ยงการล้อเลียนหรือใช้สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมอย่างไม่เหมาะสม
- ความสะอาด: การรักษาความสะอาด ทั้งกลิ่นกาย และความสะอาดของเครื่องแต่งการถือเป็นเรื่องสำคัญ
- ลิขสิทธิ์: ถ้าต้องการขายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคอสเพลย์ ควรระวังเรื่องลิขสิทธิ์หรือการแอบอ้าง ดัดแปลง จากผลงานของผู้อื่น
เลเยอร์ หรือ คอสเพลย์เยอร์ ต่างกันอย่างไร
คำว่า “เลเยอร์” (Layer) และ “คอสเพลย์เยอร์” (Cosplayer) มักถูกใช้สลับกันในวงการคอสเพลย์ไทย แต่มีความหมายที่แตกต่างกันเล็กน้อย กล่าวคือ
คอสเพลย์เยอร์: หมายถึงผู้ที่ทำการคอสเพลย์โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการสวมชุด แต่งหน้า หรือแสดงเป็นตัวละคร
เลเยอร์: มักใช้เรียกผู้ที่เน้นการถ่ายภาพคอสเพลย์ โดยอาจจะไม่ได้ทำชุดเอง แต่เน้นการโพสท่าและการแต่งหน้าให้เหมือนตัวละครเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ในประเทศไทย การใช้คำว่า “เลเยอร์” มักเป็นที่นิยมมากกว่า และมักใช้เรียกคอสเพลย์เยอร์ทั่วไป
เข้าร่วมงานคอสเพลย์ เริ่มต้นอย่างไรดี
หากคุณสนใจที่จะเริ่มต้นคอสเพลย์ นี่คือขั้นตอนง่ายๆ ที่เราอยากให้คุณทำตามขั้นตอน ดังนี้
- เลือกตัวละครที่คุณชอบ: เริ่มจากตัวละครที่คุณรู้จักดีและรู้สึกสบายใจที่จะแสดงเป็น
- วางแผนชุด: ตัดสินใจว่าจะซื้อชุดสำเร็จรูปหรือทำเอง ถ้าทำเอง ให้เริ่มจากชุดที่ไม่ซับซ้อนมากนัก
- ฝึกฝนการแต่งหน้า: ดูวิดีโอสอนแต่งหน้าแนวคอสเพลย์และฝึกฝนเป็นประจำก่อนแต่งจริงในวันงาน
- หากลุ่มคอสเพลย์: เข้าร่วมกลุ่มคอสเพลย์ออนไลน์เพื่อขอคำแนะนำและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เข้าร่วมงาน: เริ่มจากงานเล็กๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจ โดยติดตามตารางงานได้ที่ propsops.com
- สนุกกับมัน!: จำไว้ว่าคอสเพลย์คือการแสดงออกและความสนุก อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป