Nattapat

2 มกราคม 2025

รู้จัก AI คืออะไร? กับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในปี 2025

AI คืออะไร? 

ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่รู้จักกันในชื่อย่อว่า AI (Artificial Intelligence) คือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถคล้ายกับสมองมนุษย์ โดยเอไอ(AI) นั้นเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบที่สามารถเลียนแบบกระบวนการคิดวิเคราะห์และเข้าใจกระบวนการทำงานของมนุษย์ได้

AI คือ

ความสามารถหลักของ AI คือการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ซึ่ง AI มีการประมวลผลได้เร็วกว่าสมองมนุษย์หลายล้านเท่า นอกจากนี้ AI ยังมีความสามารถในการเรียนรู้ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ AI กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยมนุษย์ในการคิดและตัดสินใจในหลากหลายด้าน

ตัวอย่างความสามารถของ AI ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ได้แก่

การโต้ตอบการพูดสนทนากับมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติใน Voice Over Generator – ChatGPT ไปจนถึงการสร้างรูปภาพและกระทำการการตัดสินใจตามข้อมูลที่ได้รับแบบเรียลไทม์ใน Stable Diffusion ซึ่งในอดีต ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ(AI) จะมีข้อจำกัดในด้านประสาทสัมผัสที่ไม่มีเหมือนมนุษย์ แต่ในปัจจุบัน Tesla กำลังพัฒนา เทสลาบอต หรือ ออพติมัส(Optimus) หุ่นยนต์ที่เคลื่อนไหวได้และสามารถโต้ตอบในลักษณะที่คล้ายมนุษย์ อันเป็นข้อยืนยันว่าการพัฒนา AI ในปัจจุบันล้วนสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดบนทุกจินตนาการของมนุษย์ได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ AI จึงกลายเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลก

Tesla Bot เสิร์ฟเครื่องดื่ม

ประเภทของเทคโนโลยี AI 

ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AI) ถูกจำแนกออกเป็น 7 ประเภท ตามหลักการทำงาน ความสามารถและความเหมาะสมของลักษณะงานที่ใช้ซึ่งแตกต่างกันออกไป ดังนี้

1. Narrow AI

Narrow AI หรือ Weak AI เป็นประเภทของ AI ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะทางอย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะมีขีดความสามารถจำกัด แต่ก็สามารถทำงานได้อย่างแม่นยำในขอบเขตที่กำหนด ตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ Alexa ของ Amazon และ Siri ของ Apple ที่ทำหน้าที่ผู้ช่วยเอไอ(AI Assistant)ที่ทำความเข้าใจและตอบสนองด้วยคำสั่งเสียงอย่างง่ายแก่ผู้ใช้ หรือระบบ AI ในรถยนต์ไร้คนขับของ Tesla ที่สามารถควบคุมการขับขี่ได้อย่างปลอดภัยในสภาพแวดล้อมที่กำหนด หรือ ปัญญาประดิษฐ์ที่ถูกตั้งค่ามาเพื่อตอบคำถามในภารกิจของวิดีโอเกม เป็นต้น

2. General AI

General AI เป็นแนวคิดของ AI ที่มีความสามารถเทียบเท่ามนุษย์ในทุกด้าน สามารถคิด เรียนรู้ และแก้ปัญหาได้อย่างยืดหยุ่น แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มี General AI ที่สมบูรณ์ แต่นักวิจัยกำลังพยายามพัฒนาระบบที่มีความสามารถใกล้เคียง เช่น GPT-3 ของ OpenAI ที่สามารถเข้าใจและสร้างภาษามนุษย์ที่ซับซ้อนและหลากหลายตามวัฒนธรรมหรือภูมิภาคตามเขตพื้นที่ได้ หรือ AlphaFold ของ DeepMind ที่สามารถทำนายโครงสร้างโปรตีนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนา AI ที่มีความสามารถซับซ้อนหลากหลายมากขึ้น

3. Superintelligent AI

Superintelligent AI เป็นแนวคิดของ AI ที่มีความสามารถเหนือกว่ามนุษย์ในทุกด้าน แม้ว่าจะยังไม่มีตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม แต่นักวิทยาศาสตร์และนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้จินตนาการถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เช่น AI ที่สามารถแก้ปัญหาโลกร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือ AI ที่สามารถค้นพบการรักษาโรคที่ยังไม่มีทางรักษาในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นไปได้และผลกระทบทางจริยธรรมของเอไอ(AI Ethics)

4. Reactive machines

Reactive Machines เป็น AI ขั้นพื้นฐานที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยตรง โดยไม่มีความสามารถในการจดจำหรือใช้ประสบการณ์ในอดีต ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงคือ Deep Blue ของ IBM ที่สามารถเอาชนะแชมป์โลกหมากรุกได้ในปี 1996 โดยการวิเคราะห์ตำแหน่งหมากบนกระดานและคำนวณการเดินที่ดีที่สุดในแต่ละครั้ง นอกจากนี้ ยังมี AI ที่ใช้ในการพยากรณ์อากาศระยะสั้น ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศปัจจุบันเพื่อทำนายสภาพอากาศในอีกไม่กี่ชั่วโมงข้างหน้า

5. Computer vision

Computer Vision เป็นเทคโนโลยี AI ที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถมองเห็นและเข้าใจภาพดิจิทัลได้ ตัวอย่างการใช้งานที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ ระบบจดจำใบหน้าในสมาร์ทโฟนที่ใช้ปลดล็อกอุปกรณ์ หรือกล้องอัจฉริยะในรถยนต์ที่สามารถตรวจจับคนเดินถนนและป้ายจราจร ในวงการแพทย์ไทย Computer Vision ถูกนำมาใช้ในโครงการ AI CHEST 4ALL การวิเคราะห์ภาพเอกซเรย์เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น(ใช้เวลาราว 50 msec)

6. Generative AI

Generative AI เป็นเทคโนโลยี AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ได้ ซึ่งเกิดจากเรียนรู้จากข้อมูลที่มีอยู่และสร้างเนื้อหาใหม่โดยอัตโนมัติตามคำสั่งที่ได้รับ โดยโมเดลพื้นฐานที่นิยมใช้คือโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models – LLMs)

ตัวอย่างที่โดดเด่นคือ DALL-E ของ OpenAI ที่สามารถสร้างภาพจากคำอธิบายที่เป็นข้อความ หรือ GPT-3 ที่สามารถเขียนบทความ เรื่องสั้น และแม้แต่โค้ดคอมพิวเตอร์ได้ เพียงแค่กรอก Promp(ชุดคำสั่งในรูปแบบข้อความอย่างง่าย) หรือในวงการดนตรี มี AI อย่าง MuseNet ที่สามารถแต่งเพลงในหลายสไตล์ และในวงการแฟชั่น มีการใช้ Generative AI ในการออกแบบเสื้อผ้าและเครื่องประดับรูปแบบใหม่ๆ เป็นต้น

7. Robotic Process Automation – RPA

RPA เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ซอฟต์แวร์โรบอทหรือหุ่นยนต์เพื่อทำงานที่เป็นกิจวัตรแทนมนุษย์ โดยเฉพาะในงานที่ต้องทำซ้ำๆ และมีกฎเกณฑ์ชัดเจน ตัวอย่างการใช้งาน RPA ที่พบเห็นได้บ่อยคือ ในธนาคารที่ใช้ RPA ในการประมวลผลใบสมัครสินเชื่อ โดยสามารถตรวจสอบข้อมูล คำนวณความเสี่ยง และตัดสินใจเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว หรือในบริษัทประกันภัยที่ใช้ RPA ในการจัดการเคลมประกันที่ไม่ซับซ้อน ช่วยลดเวลาในการดำเนินการและเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมการผลิต RPA ยังถูกใช้ในการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพสินค้าในสายการผลิตอัตโนมัติอีกด้วย

ข้อดีและข้อเสียของการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ข้อดี ข้อเสียของเอไอai

แม้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงและกำลังเปลี่ยนแปลงหลายภาคส่วนของสังคม อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรพิจารณา

ข้อดี

  • เพิ่มประสิทธิภาพและประหยัดเวลา
    AI สามารถทำงานที่ซ้ำซ้อนและใช้เวลานานได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ช่วยลดภาระงานของมนุษย์และเพิ่มผลิตภาพโดยรวม
  • ลดอคติและความลำเอียง  
    AI ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงตรรกะเท่านั้น ช่วยลดอคติที่อาจเกิดจากอารมณ์หรือประสบการณ์ส่วนตัวของมนุษย์
  • สร้างนวัตกรรมใหม่
    AI ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ เช่น การตรวจจับมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น หรือการพัฒนายารักษาโรคใหม่
  • การเรียนรู้แบบเฉพาะบุคคล
    ในด้านการศึกษา AI สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนเพื่อสร้างแผนการเรียนเฉพาะด้านและแบบทดสอบการประเมินผลที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้
  • เพิ่มผลผลิตในระดับอุตสาหกรรม
    AI สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้แก่เครื่องจักรและช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้มากขึ้นโดยมีความเหนื่อยล่าที่น้อยลง

ข้อเสีย

  • ปัญหาด้านจริยธรรม
     AI เป็นฝ่ายรับข้อมูลที่ใช้ในการฝึกฝนทางเดียว ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทำที่เลือกปฏิบัติหรือภาวะไม่เป็นธรรมในการมอบคำตอบได้
  • ข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัว
    การใช้ AI มักเกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลสู่บุคคลที่สามหรือแฮกเกอร์จากระบบเอไอเอง
  • ผู้ใช้อาจขาดความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์  
    การใช้ AI เป็นประจำ อาจทำให้ผู้ใช้ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงได้รับข้อมูลไร้ความเห็นอกเห็นใจได้
  • การเปลี่ยนแปลงด้านการจ้างงาน 
    การนำ AI มาใช้อาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงาน โดยอาจทำให้งานใช้แรงงานบางประเภทหายไปหรือต้องปรับเปลี่ยนทักษะของแรงงาน
  • ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย 
    ระบบ AI อาจเป็นเป้าหมายของการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบรุนแรงหากถูกควบคุมโดยผู้ไม่หวังดีทางอินเตอร์เน็ต
  • มีต้นทุนในการนำมาใช้
    การพัฒนาและนำระบบ AI มาใช้ย่อมมีค่าใช้จ่ายในระดับธุรกิจเสมอ โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายในองค์กรขนาดใหญ่

การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบจำเป็นต้องคำนึงถึงทั้งข้อดีและข้อเสียเหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ได้อย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงและผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้น

ปัญญาประดิษฐ์กับแง่มุมทางกฎหมายไทย

กฎหมายกับAI

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและภาคธุรกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดความท้าทายทางกฎหมายในหลายด้าน ประเทศไทยและทั่วโลกจึงเริ่มตื่นตัวในการพัฒนากรอบกฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยี AI อย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบัน ปี 2024 แม้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะสำหรับกำกับดูแล AI แต่มีความพยายามในการพัฒนากรอบกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

แนวปฏิบัติด้านจริยธรรม AI (AI Ethics Guidelines)

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้จัดทำ “หลักการและแนวทางจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย” เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้วิจัย ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนา และผู้ให้บริการ AI ในการใช้งานอย่างมีจริยธรรม นอกจากนี้ยังมีแนวปฏิบัติจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น สวทช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ AI

ประเด็นทางกฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับ AI

ความรับผิดทางแพ่งจากความเสียหายที่เกิดจาก AI

ในกรณีที่ AI ก่อให้เกิดความเสียหาย ปัจจุบันกฎหมายไทยยังไม่รองรับการฟ้องร้อง AI โดยตรง เนื่องจาก AI ไม่มีสถานะเป็นบุคคลตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายอาจดำเนินคดีได้โดย

ประเด็นลิขสิทธิ์ในผลงานที่สร้างโดย AI

กฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบันยังไม่รองรับการคุ้มครองผลงานที่สร้างโดย AI อย่างชัดเจน เนื่องจาก หลักการลิขสิทธิ์มุ่งคุ้มครองการแสดงออกทางความคิดของมนุษย์เท่านั้น และ AI ไม่ถือเป็นผู้สร้างสรรค์ตามกฎหมาย เพราะขาดองค์ประกอบของ “การถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์” (Human Authorship) ถึงจะสามารถเข้าหลักเกณฑ์ของความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้น

แต่อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงในระดับนานาชาติ และอาจต้องมีการปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ในอนาคตเพื่อรองรับผลงานที่สร้างโดย AI ต่อไปในอนาคต ซึ่งประเทศไทยกำลังเร่งพัฒนากรอบกฎหมายและนโยบายเพื่อรองรับ AI โดยมีแนวโน้มสำคัญ ดังนี้

  • การจัดตั้งศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AIGC) เพื่อเป็นแหล่งความรู้และให้คำปรึกษาด้านธรรมาภิบาล AI
  • การพัฒนาแพลตฟอร์มกลางบริการ AI ของประเทศไทย (National AI Service Platform)
  • การสร้างระบบ Data Sharing เพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI ในด้านต่างๆ
  • การพัฒนากรอบการทำงานด้านปัญญาประดิษฐ์ของภาครัฐไทย (AI Government Framework)

การพัฒนากฎหมายและนโยบายด้าน AI ในประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายสำคัญคือการสร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมและการคุ้มครองสิทธิของประชาชน รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ AI อย่างแพร่หลาย การพัฒนากฎหมาย AI จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความสนใจและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางเพื่อให้ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

TAG ที่เกี่ยวข้อง: