ณัฐภัทร

27 เมษายน 2024

กลุ่มเป้าหมาย คืออะไร? ทำงานอย่างไร

ในโลกการทำการตลาดออนไลน์(Digital Marketing) หนึ่งในกลยุทธ์จะทำให้การทำการตลาดของคุณประสบความสำเร็จมากที่สุดคือการรู้จักกลุ่มเป้าหมายของคุณอย่างถ่องแท้ ไม่ว่าจะเป็นการหาตลาดเป้าหมาย(Market target) การสร้างปฎิสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า ไปจนถึงการทำให้ลูกค้ารักแบรนด์ของคุณและไม่หนีไปหาแบรนด์คู่แข่งได้อย่างอยู่หมัด แต่ทว่าการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจอาจเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องอาศัยข้อมูลในการวิเคราะห์จำนวนมาก ทำให้ในวันนี้ เอเจนซี่การตลาด Sixtygram จะขอช่วยคุณให้เข้าใจเรื่องกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น ทั้งในเรื่องความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายและวิธีค้นหากลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำที่สุดกัน

กลุ่มเป้าหมาย คือ

กลุ่มเป้าหมาย คือ 2

กลุ่มเป้าหมาย(Target Audience) คือกลุ่มคนที่ธุรกิจต้องการให้ซื้อสินค้าหรือบริการมากที่สุด โดยกลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจจะประกอบด้วยผู้ที่อาจได้รับประโยชน์สูงสุดจากผลิตภัณฑ์ที่เสนอขาย คนกลุ่มนี้จะเกิดจากการวิเคราะห์และกำหนดโดยข้อมูลเชิงสถิติและพฤติกรรมบางอย่างที่พวกเขาสนใจ ซึ่งนักการตลาดสามารถแบ่งกลุ่มเป้าหมายให้เป็นไปตามลักษณะเฉพาะได้ เช่น การสร้างโปรไฟล์จำลองตามประเภทของกลุ่มเป้าหมายเพื่อแยกกลุ่มเป้าหมายแต่ละชุดออกจากกัน 

โปรดจำไว้ว่า มีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่จะมีกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดโดยรวมเป็นทุกๆคน เพราะการพยายามขายสินค้าและบริการให้กับทุกคนจะส่งผลให้สินค้าและบริการของคุณอาจไม่ได้รับยอดขายตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

ความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย

การที่ธุรกิจสามารถหากลุ่มเป้าหมายของตนเจอจากการจัดประเภทกลุ่มเป้าหมายจะทำให้ธุรกิจเข้าใจพฤติกรรมและความสนใจของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่การปรับใช้ พัฒนากลยุทธ์การตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ การทำงานของกลุ่มเป้าหมายจะให้แบรนด์ของคุณสร้างแตกต่างจากคู่แข่ง เป็นที่จดจำ และประสบผลสำเร็จในการทำการตลาดได้ในที่สุด เช่น การปรับใช้กลุ่มเป้าหมายกับการยิงแอดใน Facebook, การปรับคอนเทนต์ที่บอร์ดแคสต์ใน Line OA และ การผลิตคลิปสั้นโฆษณาบน Tiktok ให้ตอบโจทย์ความสนใจของกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เป็นต้น 

4 ประเภทของกลุ่มเป้าหมาย

การกำหนดและเริ่มสร้างกลุ่มเป้าหมาย คุณจะต้องแบ่งประเภทของกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องตามข้อมูลจำเพาะของผู้คน โดยนี่คือ 4 ประเภทหลักของกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามข้อมูลประชากร(Demographics)

กลุ่มเป้าหมายตามข้อมูลประชากรเป็นประเภทกลุ่มเป้าหมายที่ใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุด ซึ่งจะแยกกลุ่มเป้าหมายด้วยข้อมูลด้านช่วงอายุ สถานที่อยู่อาศัย อาชีพ สถานภาพการสมรส(โสด/มีคู่) และเพศสภาพ การแบ่งกลุ่มเป้าหมายประเภทนี้คุณจะสามารถเห็นได้ว่าคนในช่วงวัยใดมีความต้องการและความสนใจที่แตกต่างจากคนอีกช่วงวัยหนึ่งอย่างไร เป็นต้น

2. กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามบุคลิกภาพ(Psychographic)

การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามบุคลิกภาพเป็นการจัดประเภทของกลุ่มเป้าหมายโดยอ้างอิงจากความสนใจ ชนชั้น หรือไลฟ์สไตล์ของผู้คน บุคลิกภาพที่แตกต่างกันของผู้คนเป็นแรงขับให้เกิดการบริโภคที่หลากหลาย หลายแบรนด์มักออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเพื่อสะท้อนความเชื่อของกลุ่มลูกค้าของตน เช่น ผู้ที่เชื่อและสนใจเรื่องการรักษาสุขภาพมักจะชื่นชอบและมักเลือกเป็นลูกค้าประจำของแบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

3. กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจเฉพาะด้าน(Purchase Intention)

4 Purchase Intention

การแบ่งกลุ่มเป้าหมายประเภทนี้จำเป็นจะต้องศึกษาเส้นทางในการเลือกซื้อ(Customer journey)ของกลุ่มคน การศึกษาเส้นทางและปัจจัยที่จะทำให้เลือกซื้อจะช่วยให้ธุรกิจเข้าใจได้ว่ากลุ่มเป้าหมายมักตัดสินใจซื้อด้วยเหตุผลใดและต้องออกแบบกลยุทธ์การตลาดแบบใดจึงจะตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เช่น กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการซื้อบ้าน มักศึกษาโครงการบ้านบ่อยครั้งก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ กลับกันที่กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นมักจะไม่ค้นหาข้อมูลมากนักก่อนสั่งซื้อ เป็นต้น

4. กำหนดกลุ่มเป้าหมายตามวัฒนธรรมย่อยของลูกค้า(Subculture)

กลุ่มเป้าหมายประเภทวัฒนธรรมย่อย(Subculture) คือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามความชื่นชอบส่วนบุคคลที่มีกฎระเบียบ รวมกันเป็นกลุ่ม และมักเป็นกระแสในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเสมอ เช่น กลุ่มผู้ชื่นชอบการคอสเพลย์ กลุ่มกีฬา และกลุ่มแฟนคลับของนักร้อง/นักแสดง เป็นต้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายประเภทนี้จะช่วยให้คุณได้รับแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพูดถึงมากยิ่งขึ้น และเกิดกลยุธ์ทางการตลาดที่ทันสมัยอยู่เสมอ

กลุ่มเป้าหมาย(Target Audience) แตกต่างกับ ตลาดเป้าหมาย(Target Market) อย่างไร?

AudienceSegments
รูปภาพสืบค้นจาก How to Define Your Target Audience – waypointmc.com

กลุ่มเป้าหมาย(Target Audience) คือขั้นตอนแรกของกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างขึ้นเพื่อกำหนดกลุ่มผู้บริโภคที่สามารถทำกำไรแก่ธุรกิจได้ และจะถูกนำไปปรับใช้แก่ตลาดเป้าหมาย(Target Market) ในขั้นตอนการสร้างแผนการตลาดต่อไป เพื่อเข้าถึงและปิดการขายให้กับธุรกิจด้วยกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ในอนาคต

ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการขายบ้าน ตลาดเป้าหมาย(Target Market)คือผู้ต้องการซื้อบ้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย(Target Audience)เป็นผู้พบเห็นโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในพื้นที่โครงการบ้านนั้นตั้งอยู่ ไม่ใช่ผู้ต้องการซื้อบ้านทุกคนในประเทศไทยนั่นเอง

ดังนั้น กลุ่มเป้าหมาย(Target Audience) จะเป็นกลุ่มคนที่ถูกกำหนดอยู่ “ภายใน” ตลาดเป้าหมาย(Target Market) และจำเป็นต้องทำงานยึดโยงกันเพื่อให้กลยุทธ์ทางการตลาดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง

TAG ที่เกี่ยวข้อง:
Nattapat
ผู้เขียน ณัฐภัทร ยอดนิล

ผู้ชื่นชอบการทำเว็บไซต์ และสร้าง UI ดีไซน์แนวโมเดิร์น ณัฐภัทรเชื่อว่าความสนุกของการทำการตลาดออนไลน์คือการส่งมอบคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงและน่าจดจำ มากกว่าจำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกมา