Nattapat

18 มีนาคม 2024

รู้จัก Keyword หลักและรอง สำหรับทำ SEO

Keyword(คีย์เวิร์ด)หรือคำหลัก คือส่วนสำคัญในการทำให้เว็บไซต์ของคุณปรากฏและติดอันดับสูงในเครื่องมือค้นหา Google หากแท้จริงแล้ว Keyword สำหรับหาการจ้างงาน SEO ถูกแบ่งเป็น Keyword หลักและ Keyword รอง ทั้งยังมี Keyword ที่เกี่ยวข้อง ทำให้วันนี้ Sixtygram จะขออาสาอธิบายเรื่องเกี่ยวกับ Keyword เหล่านี้กัน

Keyword หลัก

Keyword หลัก หมายถึงคำหลักหรือวลีหลักที่อธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องบนหน้าเว็บโดยใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่คุณต้องการนำเสนออย่างถูกต้อง โดยทั่วไปจะเป็นวลี 1-2 ถ้อยคำที่มีความเกี่ยวข้องสูงสุดกับหัวข้อของหน้านั้น ๆ บนเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น หากหน้าเว็บ Sixtygram เกี่ยวกับ “บริษัทตลาดออนไลน์” คำหลักหลักจะเป็น “รับทำการตลาดออนไลน์” ที่มีผู้ค้นหาคำนี้สูงสุด เป็นต้น

Keyword รอง

Keyword รองแตกต่างจาก Keyword หลักกล่าวคือ Keyword รองหรือคำหลักรองเป็นคำที่เกี่ยวข้องซึ่งทำหน้าที่เสริมคำหลักและให้บริบทเพิ่มเติมแก่เนื้อหาบนเว็บไซต์ โดยทั่วไป Keyword รองจะเป็นวลีที่มีจำนวนมากกว่า(3-4 คำ) ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับ Keyword หลัก ตัวอย่างเช่น “เว็บรับทำการตลาดที่ดีที่สุด” “รับทำการตลาดสายขาว” “รับเป็นที่ปรึกษาทางการตลาด” เป็นต้น

การเลือก Keyword หลักและรอง

ผู้รับทำ SEO สายขาวจำนวนมากจะนิยมใช้แพ็คเกจราคาในการรับทำ SEO โดยมี Keyword หลักแบบกำหนดจำนวนคำที่ธุรกิจสามารถเลือกได้เองหรือตามคำแนะนำของบริษัทการตลาด ซึ่งหลังจากคัดเลือก Keyword หลักที่มี Traffic ยอดผู้ค้นหาและเข้าชมสูงและเหมาะสมกับแผนการตลาด คุณจะได้รับการจัดทำ Keyword รองรวมถึง Related keywords ที่เกี่ยวข้องต่อไป

บริษัทการตลาดที่ดีจะค้นหาและแนะนำ Keyword รอง โดยเฉลี่ย 5 – 10 คำประกอบการสร้างเนื้อหาคุณภาพแก่ Keyword หลักเพื่อให้อันดับของเว็บไซต์ของคุณมั่นคงและอันดับตกได้ยากขึ้นเมื่อลูกค้าสามารถค้นหาเว็บไซต์ของคุณเจอจากหลายคำรองควบคู่กับคำหลักที่เป็นเป้าหมาย

เว็บไซต์ข่าวสิ่งแวดล้อม

ยกตัวอย่างเช่น หาก Keyword หลักของธุรกิจของคุณคือ “เว็บไซต์ข่าวสิ่งแวดล้อม” คุณควรมี Keyword รองในเนื้อหาเป็น “ข่าวสิ่งแวดล้อมวันนี้” “เว็บข่าวสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด” “ข่าวสิ่งแวดล้อมล่าสุด” เป็นต้น

วิธีใช้ Keyword เพื่อทำ SEO

หากพูดถึง Keyword ในแง่ SEO ทั้งคำหลักหลักและคำหลักรองถูกนำมาใช้ด้วยหลกวิธีในการปรับปรุงการจัดอันดับของหน้าเว็บต่อ Google ดังนี้

  1. เมตาแท็ก(Meta tags): คำหลักหลักและรองจะรวมอยู่ในแท็กชื่อ แท็กคำอธิบาย และแท็กส่วนหัวข้อ (H1, H2, H3 ฯลฯ) เพื่อใก้การสนับสนุนแก่เครื่องมือค้นหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณ
  2. เนื้อหา: ทั้งคำหลักหลักและคำหลักรองควรรวมอยู่ในเนื้อหาของเว็บไซต์ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาทั้งหมดที่ได้เชื่อมโยงอยู่ในเว็บไซต์ เนื้อหาที่ดีและมีคีย์เวริ์ดที่จำเป็นครบถ้วนจะช่วยให้เครื่องมือค้นหาอย่าง Google เข้าใจหัวข้อและความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับคำที่ผู้คนค้นหาเว็บไซต์ของคุณเจอ
  3. โครงสร้างเว็บไซต์(structure): นักทำ SEO สามารถรวมคีย์เวิร์ดหลักและรองไว้ใน ชื่อเรียก URL ของหน้าเว็บเพื่อระบุความเกี่ยวข้องของเนื้อหาแต่ละหน้าได้อย่างเป็นระเบียบ
  4. ใส่ในคำอธิบายรูปภาพ(Img alt Attribute): การรวม Keyword หลักและรองไว้ในชื่อไฟล์และข้อความแสดงแทนของรูปภาพที่คุณวางแทรกกับเนื้อหาไว้ จะช่วยให้ Google เข้าใจได้ว่าภาพนั้นเกี่ยวโยงกับเนื้อหาบนเว็บไซต์ได้อย่างไร ทำให้การจัดอันดับ SEO ของเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากขึ้นและเอาชนะเทคนิค SEO ที่คู่แข่งมักละเลยได้

คำหลักเกี่ยวข้อง (Related keywords)

relate keyword

คำหลักที่เกี่ยวข้อง(Related keywords) คือคำหรือวลีที่เชื่อมโยงเนื้อหาที่คล้ายกับ Keyword หลักที่คุณกำหนดเป้าหมายทาง SEO ไว้ คำหลักที่เกี่ยวข้องไม่จำเป็นต้องเป็นคำพ้องความหมาย หากแต่เป็นคำที่ผู้คนจำนวนมากมักค้นหา Keyword หลักของคุณด้วยบริบทและถ้อยคำอื่นๆหากแต่ได้ผลลัพธ์เดียวกันตัวอย่างเช่น “เอเจนซี่การตลาด” “โฆษณาดิจิทัล” “วางแผนการตลาด” “การทำ SEO” ที่ผู้คนมีเป้าหมายใช้คำค้นหาบริษัทการตลาดเป็นKeyword หลัก เป็นต้น

สรุปการใช้ Keyword 

สิ่งสำคัญในการทำ SEO คือคุณต้องหลีกเลี่ยงการใส่คำหลัก(Keyword)ในทางที่ผิด การใส่คีย์เวิร์ดมากเกินไปในเนื้อหาอาจส่งผลเสียต่ออันดับ Google ของคุณได้ Sixtygram แนะนำให้มุ่งเน้นไปที่การสร้างเนื้อหาคุณภาพที่รวมคำหลักและคำรองรวมถึงคำหลักที่เกี่ยวข้องของเว็บไซต์อย่างเป็นธรรมชาติ(organic)และอย่างมีความหมายแทนเพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้อ่านที่ดีที่สุดแทน

ด้วยการทำความเข้าใจและใช้คำหลัก(Keyword)ทั้งหมดที่เรามอบคำอธิบายให้ เราหวังว่า คุณสามารถใช้ Keyword แต่ละประเภทนี้ส่งเสริมอันดับเว็บไซต์ของคุณในโลกการแข่งขันของ SEO ได้อย่างมหาศาล

TAG ที่เกี่ยวข้อง: