ณัฐภัทร

27 เมษายน 2024

รู้จัก Mood and Tone มีอะไรบ้าง

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า Mood(มู้ด) และ Tone(โทน) กันมาบ้าง แม้ทั้งสองคำจะมีความคล้ายคลึงกันและมักใช้ร่วมกันในงานออกแบบอยู่เสมอ หากแต่มีอะไรบ้าง? และแตกต่างกันอย่างไร? สำหรับความหมายของ Mood and Tone ที่วิธีใช้นั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ในวันนี้ Sixtygram จึงจะขออาสามาให้คำอธิบายเชิงหลักการในเรื่องนี้กัน

Mood and Tone คือ

ทั้ง Mood และ Tone ต่างถูกใช้เพื่อสร้างแก่นแท้ของความคิดในชิ้นงาน(Main Idea) กล่าวคือ Mood จะบรรยายถึงบรรยากาศและอารมณ์ของชิ้นงาน เช่น มีความสวยสง่าและเยือกเย็น ส่วน Tone ใช้เพื่อแสดงความเห็นส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์ผลงาน เช่น วิธีการและลีลาในการเล่าเรื่อง สีสันของภาพ และน้ำเสียงของผู้เขียน เป็นต้น

ความแตกต่างของ Mood vs Tone

  • Mood ใช้เพื่อสร้างความรู้สึกและบรรยากาศให้กับผู้อ่าน โดยไม่จำเป็นต้องมีการแสดงความเห็นส่วนตัว
  • Tone ใช้เพื่อสร้างแนวคิด และถือเป็นส่วนเสริมเพื่อให้เข้าใจความคิดเห็นจากผู้สร้าง

ความสำคัญของ Mood and Tone

Mood จะคอยทำหน้าที่สื่ออารมณ์หลักและภาพบรรยากาศตลอดการรับชมชิ้นงาน ตั้งแต่อารมณ์ในแง่บวก สนุกสนาน มีชีวิตชีวา ไปจนถึงความโกรธเกรี้ยวและความเศร้าของชิ้นงาน ทั้งนี้ Mood ยังคอยเป็นคู่มือหรือคำแนะนำที่เปรียบเสมือนแผนนำทางที่ถูกต้องในการรับชมผลงานนั้นๆ อีกด้วย

mood scaled 1

ตัวอย่าง Mood ในคำอธิบายของชิ้นงาน

Chic – เท่ตามสมัยนิยมVivid – โชติช่วง
Gorgeous – สวยเกินบรรยายBold – โดดเด่นห้าวหาญ
Elegant – สวยสง่าCalm – สงบนิ่ง
Fresh – สดใหม่และสดชื่นCharming – มีเสน่ห์น่าหลงไหล
Dynamic – มีพลังและฉับไวGentle – อ่อนโยนนุ่มนวล
Angry – โกรธGraceful – สวยสง่า
Modern – ทันสมัยSadness – เศร้าสร้อย
Stylish – มีสไตล์(มีของ)Bright – เฉลียวฉลาด
Feminine – เฟมินิสต์Youthful – เหมือนเป็นวัยรุ่น
Masculine – สมเป็นชายชาตรีWild – ป่าเถื่อน ดูดิบเถื่อน

หากแต่ Tone(โทน) ในเชิงงานเขียนหรือวรรณกรรมนั้นสื่อถึงน้ำเสียงที่ผู้เขียนในต่อชิ้นงานของตน ซึ่ง Tone สามารถสะท้อนถึงความคิดเห็นและความรู้สึกของตัวละครในวรรณกรรมนั้น ๆ ได้ โดยถ่ายทอดผ่านการเลือกคำที่ใช้ เครื่องหมายวรรคตอน โครงสร้างและลำดับขั้นของการเล่าเรื่องราว

tone of voice

ตัวอย่าง Tone ในงานเขียน

Formal – เป็นทางการAssertive – แน่วแน่ อาจหาญ
Informal – ไม่เป็นทางการHumorous – ชวนหัวเราะ
Professional – มืออาชีพเขียนSympathetic – ตื่นเต้น
Friendly – เป็นมิตรConfident – มั่นใจ
Persuasive – โน้มนาวจิตใจUrgent – ร้อนใจ เร่งด่วน

TONE ในงานออกแบบ

Tone ในแง่ของผลงานออกแบบถูกใช้ในแง่เฉดสี เช่น ความสว่างหรือความมืด ความเข้มหรือความอ่อนของสีที่ถูก ตลอดไปจนถึงความลึกและตื้นของแต่ละชิ้นงาน Tone สีถูกใช้ให้ปรากฎในชิ้นงานเพื่อสร้างทั้งอารมณ์ร่วมและสื่อความหมายให้แก่ผู้พบเห็น เช่นที่เราได้เห็นตามสื่อภาพยนต์มากมาย

tone ในภาพยนต์

ตัวอย่าง Tone สีในงานออกแบบ

  • Pastel Tone (โทนสีพาสเทล): สีอ่อนๆ และบางๆ เพื่อเสริมให้บรรยากาศน่ารักและนุ่มนวล
  • Bold Tone (โทนสีอุ่น): สีเข้ม คมชัด ให้อารมณ์ของความแข็งแรงและมั่นคง
  • Neutral Tone (โทนสีเบส): ให้ความรู้สึกอ่อนโยนและสงบมีสมาธิ
  • Vibrant Tone (โทนสีสดใส): สีสดใสและสดชื่นให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวาและมีพลัง
  • Monochrome Tone (โทนสีเทา): ใช้เฉพาะสีเทาหรือสีขาวดำ สื่ออารมณ์ที่ทันสมัย
  • Earthy Tone (โทนสีธรรมชาติ):
  • Metallic Tone (โทนสีโลหะ): สีที่เหมือนโลหะ มีความเป็นเงา ให้ภาพลักษณ์ที่หรูหราและทันสมัย
  • Romantic Tone (โทนสีโรแมนติก): ใช้โทนสีอ่อนๆและนุ่มนวลให้ความรู้สึกแสนหวานและโรแมนติก
  • Minimalist Tone (โทนสีมินิมอล): ใช้สีเบจและสีดำ ให้ความรู้สึกง่าย ๆ และดูสบายตา
  • Futuristic Tone (โทนสีอนาคต): ใช้โทนสีที่ทันสมัยและสวยงาม สะท้อนให้รู้สึกถึงพลังแห่งความสำเร็จ
Pastel Tone
#ffd1dc
Bold Tone
#ff0000
Neutral Tone
#f5f5dc
Vibrant Tone
#00ff00
Monochrome Tone
#808080
Earthy Tone
#8b4513
Metallic Tone
#c0c0c0
Romantic Tone
#ffc0cb
Minimalist Tone
#ffffff
Futuristic Tone
#6b52ae

สรุป

โดยทั่วไป ในการสร้างสรรค์ชิ้นงานมักจะมีการใช้ Mood เพื่อสร้างบรรยากาศและอารมณ์ให้กับผู้อ่าน ร่วมกับการใช้ Tone เพื่อแสดงความเห็นส่วนตัวเพื่อปฎิสัมพันธ์กับเนื้อหาที่ถูกนำเสนอไปในชิ้นงานนั้นๆ เสมอ ซึ่งทั้ง Mood and Tone นี้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารความคิดและเสนอเรื่องราวให้กับผู้พบเห็นได้อย่างชัดเจนและเข้าใจในแง่ทุกแง่มุมทั้งบรรยากาศและเหตุผลของผู้สร้างสรรค์ผลงาน

TAG ที่เกี่ยวข้อง:
Nattapat
ผู้เขียน ณัฐภัทร ยอดนิล

ผู้ชื่นชอบการทำเว็บไซต์ และสร้าง UI ดีไซน์แนวโมเดิร์น ณัฐภัทรเชื่อว่าความสนุกของการทำการตลาดออนไลน์คือการส่งมอบคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงและน่าจดจำ มากกว่าจำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกมา