Nattapat

18 มีนาคม 2024

E-commerce คืออะไร?

E-commerce คือ

E-commerce(อีคอมเมิร์ซ) คือระบบซื้อและขายสินค้า/บริการธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์หรือแพลตฟอร์มทางอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ร้านค้าปลีกออนไลน์อย่าง Amazon และ eBay หรือ Shopee Lazada และ Tiktok Shop ที่ได้รับความนิยมในไทยเป็นต้น

ecommerce 3

ในปัจจุบันตลาด E-commerce เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 โดยบริษัท ช้อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด มีผลกำไรสุทธิสูงถึง 2,400 ล้านบาท หรือกำไรโตกว่า 147% จากปีก่อนหน้า เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าธุรกรรมเชิงพาณิชย์ E-commerce(อีคอมเมิร์ซ) ถือเป็นหนึ่งเครื่องมือทางการตลาดที่ทรงพลังที่สุดในปัจจุบัน

Shopee กำไร e1708093530147
ที่มาภาพจาก ลงทุนแมน

6 ประเภท E-commerce

โดยทั่วไป อีคอมเมิร์ซหรือธุรกรรมเชิงพาณิชย์จะแบ่งได้ออกเป็น 6 ประเภทตามลักษณะของคู่ค้าทางธุรกิจ ได้แก่ 1.ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) 2.ธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) 3.ธุกิจขายตรงกับผู้บริโภค(D2C)  4.ผู้บริโภคกับผู้บริโภค(C2C) 5.ผู้บริโภคกับธุรกิจ(C2B) 6.ผู้บริโภคกับรัฐ(C2G)

  1. B2B อีคอมเมิร์ซแบบบีทูบี หมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจด้วยกันมากกว่าระหว่างธุรกิจและผู้บริโภค ตัวอย่างได้แก่ เว็บไซต์ที่ให้ร้านค้าหรือธุรกิจด้วยกันเองค้นหาสินค้า บริการ หรือข้อมูล และสนับสนุนการทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เว็บขายสินค้าราคาส่งจากจีน เป็นต้น
  2. B2C อีคอมเมิร์ซแบบบีทูซีเกิดขึ้นเมื่อธุรกิจขายสินค้า บริการ หรือขายข้อมูลใด ๆให้กับผู้บริโภค โดยทั่วไปจะมีคนกลางหรือนายหน้าที่จัดการเรื่องการจัดส่ง ขนส่ง และการบริการลูกค้า(CRM) ซึ่งกำลังได้รับความนิในไทย เมื่อผู้ค้าปลีกและการนำสินค้ามาขายออนไลน์เรื่องที่แปลกใหม่
    ปัจจุบันมีเว็บไซต์ร้านค้าและห้างสรรพสินค้ามากมายบนอินเทอร์เน็ตที่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคทุกประเภท ในไทย Shopee เป็นผู้ครองตลาด B2C ส่วนใหญ่
  3. D2C ดีทูซี หลายท่านอาจยังไม่คุ้นหู หากแต่จุดที่ธุรกิจผู้ผลิตสินค้าและบริการขายตรงให้กับผู้บริโภคทางออนไลน์โดยไม่มีคนกลางหรือตัวแทนผู้จัดจำหน่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง แตกต่างกับอีคอมเมิร์ซแบบ B2C เช่น ห้างซุปเปอร์มาร์เกต Tops ที่จำหน่ายและจัดส่งสินค้าโดยไม่พึ่งพานายหน้าหรือตัวแทนในการดำเนินการ
  4. C2C หรือ ผู้บริโภคสู่ผู้บริโภคคืออีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่งที่ผู้บริโภคแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และข้อมูลระหว่างกันทางออนไลน์ด้วยตนเอง โดยทั่วไปธุรกรรมเชิงพาณิชย์เหล่านี้จะดำเนินการผ่านบุคคลที่สามซึ่งเป็นเพียงหน้าตา(UI)เว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่น(ไม่ใช่ตัวกลางหรือตัวแทนจำหน่าย)ที่เปิดสารธารณะ เช่น เว็บขายของมือสอง และเว็บหาฟรีแลนซ์ หรือ Facebook Marketplace เป็นต้น
  5. C2B ผู้บริโภคกับธุรกิจ นี่คืออีคอมเมิร์ซอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ คือการที่ผู้บริโภคนำเสนอสินค้าและบริการของตนทางออนไลน์เพื่อให้บริษัทต่างๆ ประมูลและซื้อ เช่น ระบบร่างสัญญาทางกฎหมายออนไลน์ เว็บฝากขายเว็บไซต์ เว็บขายซอฟแวร์สำหรับร้านค้า ตลาดจำหน่ายภาพถ่ายอย่าง Shutter Stock นี่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอีคอมเมิร์ซประเภท B2C ดั้งเดิม
  6. C2G คือธุรกรรมเชิงพาณิชย์ที่ดำเนินผ่านระบบออนไลน์ระหว่างผู้บริโภคกับหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานของรัฐ แม้รัฐบาลไม่นิยมซื้อสินค้าหรือบริการจากบุคคลทั่วไป หากแต่บุคคลทั่วไปมักใช้วิธีการของอีคอมเมิร์ซเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น การชำระค่าประกันสังคม ยื่นภาษี ซื้อหวยออนไลน์กับกองสลาก และทำธุรกรรมทางการเงินกับภาครัฐเป็นต้น

หลักการทำงานของ E-commerce

อีคอมเมิร์ซขับเคลื่อนโดยเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ในการเข้าสู่งร้านค้าออนไลน์ ผู้ใช้สามารถเรียกดูผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่ร้านค้าเสนอและกดปุ่มสั่งซื้อได้

เมื่อมีการส่งคำสั่งซื้อ เว็บเบราว์เซอร์ของลูกค้าจะสื่อสารไปมากับเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์กลางที่เรียกว่าผู้จัดการคำสั่งซื้อ ข้อมูลจะถูกส่งต่อไปยังฐานข้อมูลที่จัดการระดับสินค้าคงคลัง ระบบร้านค้าจะมอบข้อมูลการชำระเงินโดยใช้แอปพลิเคชันประมวลผลการชำระเงิน เช่น พร้อมเพย์(Prompt-pay QR code) หรือ API ที่ผูกไว้กับธนาคาร เมื่อลูกค้าชำระเงินเสร็จสิ้น ข้อมูลจะวนกลับไปที่ผู้จัดการคำสั่งซื้อ เพื่อตรวจสอบและแก้ไขสินค้าคงคลังของร้านค้าต่อไป

ecommerce 1

หลังจากตรวจสอบคำสั่งซื้อเสร็จสิ้นแล้ว ผู้จัดการคำสั่งซื้อจะแจ้งเว็บเซิร์ฟเวอร์ของร้านค้าระบบอีคอมเมิร์ซ โดยจะแสดงข้อความเพื่อแจ้งเตือนให้ลูกค้าทราบว่าคำสั่งซื้อได้รับการอนุมัติ จากนั้นผู้จัดการคำสั่งซื้อจะส่งข้อมูลคำสั่งซื้อไปยังคลังสินค้าหรือแผนกจัดส่ง ณ จุดนี้ สินค้าที่จำเป็นต้องถูกจัดส่ง หรือและไฟล์ดิจิทัลที่ถูกสั่งซื้อจะถูกส่งไปยังลูกค้าหรือได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการในทันที

แพลตฟอร์มที่ใช้โฮสต์ธุรกรรมเชิงพาณิชย์(อีคอมเมิร์ซ)ยอดนิยม เช่น Woocomerce และซอฟต์แวร์บริการ(SaaS) จะช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของร้านค้าปลีกออนไลน์ และเครื่องมือโอเพ่นซอร์สที่บริษัทต่างๆ ใช้จัดการโดยนักพัฒนาภายในองค์กรต่อไป

ข้อดีของ E-commerce

เปิดร้านได้ 24 ชั่วโมง: เพราะร้านค้าออนไลน์ย่อมเปิดให้บริการตลอดเวลา ดังนั้นลูกค้าของคุณสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่เหมือนร้านค้าทั่วไปที่ต้องมีเวลาเปิด-ปิดทำการตายตัว

เข้าถึงได้ทุกเมื่อ: การช็อปปิ้งออนไลน์ต้องรวดเร็ว หน้าเว็บอีคอมเมิร์นั้นโหลดข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และโดยปกติจะใช้เวลาเพียงไม่กี่คลิกในการซื้อของ ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดเวลาเมื่อเทียบกับการต่อคิวให้บริการที่หน้าร้านค้าออฟไลน์

วางสินค้าได้หลากหลาย: ร้านค้าออนไลน์มีสินค้ามากมายเนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่หรือโกดังเก็บสต็อกสินค้าเหมือนกับร้านค้าทั่วไป ดังนั้นคุณได้รับโอกาศในการปิดการขายมากขึ้นแน่นอน

ค้นหาสินค้าได้ง่าย: ระบบอีคอมเมิร์ชลูกค้าของคุณสามารถค้นหาสิ่งที่คุณต้องการได้อย่างง่ายดายโดยใช้หมวดหมู่หรือแถบค้นหาในเว็บไซต์ ไม่เหมือนในร้านค้าทั่วไปที่คุณอาจต้องเดินไปรอบๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่คุณต้องการเพื่อนำเสนอแก่ลูกค้าในทุกวัน

เข้าได้จากทั่วโลก: เว็บอีคอมเมิร์ซไม่ได้ถูกจำกัดด้วยสถานที่ตั้ง ผู้คนสามารถซื้อได้จากทุกที่ในโลกตราบใดที่พื้นที่นั้นมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วถึง 

ต้นทุนที่ลดลง: อีคอมเมิร์ซธุรกิจออนไลน์ประหยัดเงินโดยไม่ต้องมีร้านค้าจริง ซึ่งอาจหมายถึงการจัดโปรโมชั่นและสามารถลดราคาที่ตั้งไว้ให้ต่ำลงสำหรับดึงดูดลูกค้า

วางแผนการตลาดได้ง่ายขึ้น: เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะจดจำสิ่งที่ลูกค้าเคยดูและเคยซื้อมาก่อน ระบบร้านค้าออนไลน์จึงสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าของคุณอาจชอบได้ ทำให้การช็อปปิ้งเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้นและโอกาศในการปิดการขายสินค้าหลายชิ้นพร้อมกันเกิดขึ้นได้ในที่สุด

ข้อเสียของ E-commerce

ทำให้การใกล้ชิดลูกค้าน้อยลง: บางครั้งการให้ความช่วยเหลือและตอบข้อซักถามทางออนไลน์อาจทำได้ยากกว่าเมื่อเทียบกับการที่ลูกค้ากำลังเลือกสินค้าในร้านค้าจริง เนื่องจากการแอดมินตอบแชทบนระบบอีคอมเมิร์ซนั้นต้องใช้มนุษย์และทำการในเฉพาะช่วงเวลาเท่านั้น

ไม่สามารถสัมผัสหรือดูสินค้าได้: ลูกค้าจะไม่สามารถสัมผัสหรือดูสินค้าจริงก่อนที่จะซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ความผิดหวังหากสินค้าไม่ตรงตามความคาหมายของผู้สั่งซื้อสินค้า

ใช้เวลาในการจัดส่ง: ต่างจากการซื้อในร้านค้าจริงตรงที่คุณจะได้รับสินค้าทันทีเมื่อชำระเงิน การซื้อสินค้าออนไลน์ต้องรอการจัดส่งจากบริษัทขนส่งเสมอ

อาจถูกฉ้อโกง: ความเสี่ยงของการฉ้อโกงหรือการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าออนไลน์ เนื่องจากแฮกเกอร์สามารถสร้างเว็บไซต์ปลอมหรือขโมยข้อมูลบัตรเครดิตได้ ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณตกอยู่ในความเสี่ยง การให้ความสำคัญเรื่อง Cyber Security จึงเป็นสิ่งที่อีคอมเมิร์ซควรให้ความสำคัญอย่างเข้มงวด

การเติบโตของ E-commerce ในไทย

การเติบโตของ E-commerce ในไทยมีอนาคตอันสดใส เนื่องจากการเพิ่มประชากรออนไลน์และการใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวันที่มากขึ้น นับว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการขยายตลาดผ่าน E-commerce ช่องทางออนไลน์

KKP Research โดยกลุ่มการเงินเกียรตินาคินภัทรประเมินว่าตลาด E-commerce ในไทยจะขยายตัวเฉลี่ย 20% ต่อปีตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากระดับ 3 แสนล้านบาทเป็น 7.5 แสนล้านบาทในปี 2025 หรือคิดเป็น 16% ของตลาดค้าปลีกรวม อ่านต่อ…

การเติบโตของ อีคอมเมิร์ซ ในไทยมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ การสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการ การพัฒนาพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานที่เสถียร เช่น เน็ตเวิร์คที่มีความเร็วสูงและมีการพัฒนาระบบการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ในไทยยังมีการส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจ E-commerce จากองค์กรรัฐและเอกชนอีกด้วย เช่น การให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และการจัดโปรโมชั่นเพื่อส่งเสริมการซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งนี้อาจช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการที่สนใจที่จะเข้าสู่ตลาด E-commerce ในประเทศไทย

วิธีเริ่มสร้าง E-commerce ด้วยตัวคุณเอง

ทำecommerceด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 1: ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการขาย

ขั้นแรก ให้ดูโมเดลอีคอมเมิร์ซประเภทต่างๆ เพื่อตัดสินใจว่าคุณต้องการธุรกิจประเภทใด จาก 6 ประเภทหลัก ได้แก่ B2B, B2C, D2C, C2C, C2B หรือ C2G จากนั้นค้นหาสินค้าหรือบริการที่คุณต้องการขายซึ่งจะต้องสอดคล้องตามประเภทโมเดลอีคอมเมิร์ซที่เลือก

ขั้นตอนที่ 2: จัดทำแผนธุรกิจ

ให้เขียนเป้าหมายและแผนสำหรับธุรกิจเชิงพาณิชย์ของคุณ สิ่งนี้ช่วยให้คุณจัดระเบียบและมีประโยชน์ในการดึงดูดนักลงทุนให้สนใจธุรกิจของคุณ เงินทุนจะทำให้คุณสร้าง E-commerce ได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 3: เลือกชื่อและสร้างแบรนด์

เลือกชื่อที่สะดุดตาซึ่งเกี่ยวโยงกับสิ่งที่คุณขาย ตรวจสอบว่าโดเมนเว็บและโซเชียลมีเดียของแพลตฟอร์ม  E-commerce พร้อมใช้งานตรวจสอบให้แน่ใจว่าชื่อและแบรนด์มีเนื้อหาสะท้อนเป้าหมายทางการตลาดด้วยวัฒนธรรมที่หลากหลายหากคุณวางแผนที่ใช้ แพลตฟอร์ม  E-commerce เพื่อจำหน่ายทั่วโลก

ขั้นตอนที่ 4: ลงทะเบียนธุรกิจของคุณ

ทำให้ธุรกิจของคุณเป็นทางการโดยการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็ทรอนิกส์ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อให้ร้านค้า E-commerce ถูกรับรองตามกฎหมายไทยและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ลูกค้าของคุณ

ขั้นตอนที่ 5: สร้างหน้าร้านค้าออนไลน์ของคุณ

ถึงเวลาสร้างเว็บไซต์ E-commerce  ที่ผู้คนสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณได้ คุณจะต้องมีชื่อโดเมนและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เป็นระบบ เช่น Shopify, WooCommerce หรือ Magento แต่ละแพลตฟอร์มมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้น จงเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะกับความต้องการและพื้นฐานความเข้าใจทางซอฟแวร์ของคุณ

ขั้นตอนที่ 6: เตรียมผลิตภัณฑ์ให้พร้อม

หากคุณผลิตสินค้าเอง เราแนะนำให้ผลิตในจำนวนที่เพียงพอเพื่อเริ่มขาย ตัดสินใจว่าคุณต้องการสินค้าคงคลังจำนวนเท่าใดโดยพิจารณาจากกำลังการผลิตและแผนการตลาดของคุณ หรือ หากคุณต้องการทำอีคอมเมิร์ซประเภท B2C ควรเฟ้นหาพันธมิตรทางธุรกิจหรือผู้ผลิตเพื่อจัดส่งสินค้าให้แก่คุณโดยมีสัญญาตกลงการส่งสินค้าเพื่อวางขายที่ชัดเจนและเป็นธรรม

ขั้นตอนที่ 7: เปิดตัวและทำการตลาดธุรกิจของคุณ

ยินดีด้วยตอนนี้คุณเข้าสู่โลกแห่ง E-commerce แล้ว ดังนั้นขั้นตอนหลังจากนี้คือการมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มชื่อเสียงและการมองเห็นของแบรนด์ ติดตามยอดขายของคุณและลองใช้กลยุทธ์การตลาดออนไลน์(Digital Margeting) ต่างๆ เพื่อกระตุ้นและดึงดูดลูกค้ามาที่แพลตฟอร๋ม E-commerce แบรนด์ ปรับเปลี่ยนแนวทางของคุณอยู่เสมอในทุกขณะที่ธุรกิจของคุณกำลังเติบโตขึ้น หรือ ติดต่อเราเพื่อขอรับคำปรึกษาการตลาดฟรี เรายินดีช่วยเหลือ!