AMINTRA

15 พฤษภาคม 2024

Company Profile คืออะไร? พร้อม 10 วิธีสร้างด้วยตนเอง

ในฐานะที่ Sixtygram เป็นเอเจนซี่และคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พวกเรารู้ดีว่าควรนำเสนอธุรกิจแบบใด จึงจะโดนใจกลุ่มลูกค้ามากที่สุด ซึ่งสิ่งแรกที่ธุรกิจต้องมีคือการสร้าง Company Profile หรือ โปรไฟล์บริษัท(พรีเซนเทชั่น) ให้มีความน่าเชื่อ จนนำไปสู่การปิดการขายและสร้างกำไรให้กับบริษัทได้ในท้ายที่สุด 

หากแต่ในปัจจุบัน ธุรกิจจำนวนมากได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง Company Profile จึงมีความสำคัญมากขึ้น ว่าแต่ Company Profile คืออะไร? และเหตุใดจึงมีความสำคัญ Sixtygram จึงขอมอบ 10 วิธีสร้าง Company Profile เพื่อให้คุณสร้างโปรไฟล์บริษัทให้ดียิ่งขึ้น

Company Profile คืออะไร?

Company Profile หรือโปรไฟล์บริษัท คือรูปเล่มที่รวมทุกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับธุรกิจของคุณ เช่น พันธ์กิจ เป้าหมาย จำนวนทีมงานภายใน และบริการทั้งหมดของบริษัทที่ลูกค้าต้องการทราบและมักนำ Company Profile ไปสู่การตัดสินใจเลือกว่าจ้างในท้ายที่สุด อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน Company Profile ยังสามารถอยู่ในรูปแบบอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากรูปเล่ม ได้แก่ เว็บไซต์ แผ่นพับ งานวีดีโอพรีเซนเทชั่น เป็นต้น

Company Profile คืออะไร?
ตัวอย่าง: Company Profile แบบรูปเล่ม

ความสำคัญของ Company Profile

โดยทั่วไป โปรไฟล์บริษัท(Company Profile) มักถูกใช้ในหลายบริบทที่แตกต่างกันออกไป แต่จุดประสงค์หลักของการทำ Company Profile ก็เพื่อเพิ่มโอกาศและแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเรา(บริษัท)ให้แก่นักลงทุนหรือผู้กำลังตัดสินใจจะว่าจ้างเป็นสำคัญ โดย Company Profile อาจถูกส่งให้กับลูกค้าเพื่อเปิดดูเอง หรือ ใช้สำหรับประกอบการพูดพรีเซนเทชั่นในที่ประชุมก็ย่อมได้

ความสำคัญของ Company Profile

ภายในหน้าแรกของ Company Profile จะมีภาพรวมและสารบัญคร่าวๆว่า บริษัทเกี่ยวกับธุรกิจใด และมีหน้าใดภายในรูปเล่มบ้าง โดยเน้นการอธิบายข้อความและภาพประกอบให้เป็นธรรมชาติให้ได้มากที่สุด โดยมีองค์ประกอบสำคัญเพื่อใช้ Company Profile ดังต่อไปนี้

1. ใช้เพื่ออธิบายว่าบริษัทมีจุดเด่นอย่างไร

โปรไฟล์บริษัทที่เรายกตัวอย่างมาคือ Sixtygram Agency เป็นบริษัทรับทำการตลาดออนไลน์(Digital Marketing Agency) โดยใช้โทนสีและภาพประกอบมีสีสันสดใส มีความโมเดิร์นทันสมัย และให้ความรู้สึกสนุกสนานที่แตกต่างจากบริษัทอื่นๆในกลุ่มธุรกิจเดียวกันที่ค่อนข้างจริงจังและเคร่งเครียด

ในส่วนประวัติบริษัท พันธ์กิจและค่านิยม ก็ควรอยู่ในส่วนแรกของ Company Profile เช่นกัน เพราะในสถาการณ์จริงที่มีการนำเสนอ คุณจะสามารถอ่านและพูดถึงข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทได้อย่างมืออาชีพ พร้อมทั้งยังสามารถสร้างการจดจำของลูกค้าที่กำลังรับชม Company Profile อยู่ได้

2. ใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือและสามารถเรียกเก็บค่าบริการได้ง่ายขึ้น

สิ่งที่ทำให้ Company Profile มีความสำคัญอย่างยิ่งคือการสร้างโอกาศให้บริษัทแสดงผลงานที่เคยผ่านมาในอดีต ซึ่งสะท้อนถึงประสบการณ์ของทีมงานและเรียกความเชื่อมั่นของลูกค้าที่กำลังรับชม Company Profile อยู่ในขณะนั้นได้

เมื่อลูกค้าได้รับความเชื่อมั่นจาก Company Profile แน่นอนว่าบริษัทของคุณย่อมสามารถขายงานได้ง่ายขึ้น และตามมาด้วยโอกาศในการเรียกเก็บค่าบริการที่เป็นธรรมสำหรับธุรกิจและลูกค้าได้อย่างเป็นมืออาชีพและไร้ข้อถกเถียงด้านราคาใดๆ

3. ใช้เพื่อเล่าเรื่องราวของบริษัท

Company Profile จะทำให้ผู้คนที่รับชมเข้าใจวัฒนธรรมของบริษัทคุณมากขึ้นได้อย่างมืออาชีพ เช่น โปรไฟล์ขของบริษัทดิจิทัลเอเจนซี่ มักนำเสนอความทันสมัยด้านเทคโนโลยี โดยมีการจัดวางเนื้อหาที่ดูซับซ้อนและมีภาพกระบวนการทำงานที่น่าเชื่อถือ หรือ การเล่าเรื่องบริษัทของคุณที่เกิดขึ้นจากเพื่อกลุ่มเล็กๆ รวมตัวกันสร้างธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื้อหาที่น่าดึงดูดความสนใจเหล่านี้จะทำให้บริษัทเป็นที่จดจำในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

10 วิธีสร้าง Company Profile

หากคุณเริ่มสนใจที่จะสร้าง Company Profile เรามี 10 วิธีสร้างโปรไฟล์บริษัท สำหรับมือใหม่ ที่ทำได้ง่ายด้วยตนเอง ดังนี้

1. เริ่มสร้างด้วยเทมแพลตสำเร็จรูป

การเริ่มสร้างขึ้นจากศูนย์อาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้น เราแนะนำให้คุณใช้เทมแพลตโปรไฟล์บริษัทสำเร็จรูป Canva ที่สามารถเลือกเทมแพลตที่แตกต่างกันได้มากกว่า 4,400+ เทมแพลต หรือ เริ่มสร้างเว็บไซต์กับเอเจนซี่ทางการตลาดเพื่อใช้เป็น Company Profile ที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น

2. กำหนดเป้าหมายของ Company Profile

ขั้นตอนต่อไป เป็นการค้นหาเป้าหมายของการทำ Company Profile กล่าวคือ ใช้เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้กับบริษัท? หรือใช้เพื่อนำเสนอขายงานแก่ลูกค้า? เช่น หากคุณกำลังทำ Company Profile ให้กับนักลงทุน คุณควรมีหัวข้อ มูลค่าโดยรวมของบริษัท และกระแสเงินสดของบริษัท เพื่อให้นักลงทุนได้รับข้อมูลที่ต้องการอย่างครบถ้วนนั่นเอง กลับกัน หาก Company Profile นั้นทำเพื่อนำเสนอลูกค้า เนื้อหาควรจะนำเสนอบริการที่คุณมีให้ตรงจุดกับความต้องการลูกค้าให้มากที่สุด

3. เลือกใช้ดีไซน์และการจัดวางให้ถูกต้อง

ขั้นตอนต่อไปเมื่อได้เทมแพลตและเลือกเป้าหมายของงานนำเสนอเสร็จสิ้น คือการปรับแต่งและออกแบบงานโปรไฟล์ให้ถูกต้องและหมาะสมกับประเภทธุรกิจของคุณ เช่น หากธุรกิจของคุณคือบริษัทเทคโนโลยีเราแนะนำให้นำเสนอภาพลักษณ์ที่ทันสมัยและมีความหัวก้าวหน้า 

เว็บไซต์ พราด้า

สำหรับด้านบน เราขอยกตัวอย่าง Website ที่เปรียบเสมือน Company Profile ของบริษัท Prada ธุรกิจแฟชั่นที่ประสบความสำเร็จ โดยมี Header(ส่วนหัวแรกของเว็บไซต์) นำเสนอสื่อวีดีโอแสดงสินค้าที่มีไสตล์ของงานวาดแนวศิลปะร่วมสมัย

4. แชร์เรื่องราวที่น่าดึงดูดซึ่งสามารถตรวจสอบได้

ปฎิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจที่คล้ายกันกำลังแข่งขันระหว่างกันอย่างดุเดือน ทั้งลูกค้าและนักลงทุนที่คุณต้องการกำลังสับสนในบริษัทที่คล้ายกันในตลาด ดังนั้น คุณต้องแบ่งปันเรื่องราวที่ไม่ซ้ำใคร โดยใช้ความโดดเด่นและแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ดังนั้น เลือกที่จะเล่าเรื่องราวของบริษัทคุณผ่าน Company Profile โดยให้ทางเลือกใหม่แก่ลูกค้าอยู่เสมอ

ตัวอย่าง เช่น บริษัทการตลาดออนไลน์ผู้เชี่ยวชาญด้าน SEO อย่าง Primal ที่เล่าถึงข้อแตกต่างระหว่างเอเจนซี่ของตนและเอเจนซี่อื่นเมื่อเลือกว่าจ้าง

เว็บไซต์ primal

5. สร้างพันธกิจของบริษัท

พันธกิจ(ภารกิจ)คืออีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญของบริษัท ลองมาดูพันธกิจตัวอย่างของบริษัทระดับโลกกันก่อน

Google พันธกิจ : “จัดการข้อมูลของโลก และทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นประโยชน์” พันธกิจ “จัดระเบียบข้อมูลในโลกนี้และทำให้เข้าถึงได้ง่ายในทุกที่และมีประโยชน์” 

Amazon พันธกิจ : “บริษัทที่เน้นการเป็นศูนย์กลางสำหรับลูกค้า เพื่อสร้างสถานที่ที่ผู้คนสามารถเข้าหา และสามารถซื้อสิ่งที่เขาต้องการผ่านช่องทางออนไลน์ได้”

พันธกิจของบริษัทเป็นส่วนที่จำเป็นต้องใส่ลง Company Profile คุณอาจเขียนจากการสัมภาษณ์บุคลากรในบริษัท และตั้งคำถาม/คำตอบปลายเปิดขึ้นเพื่อบรรยายออกเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกใช้ในระยะยาว

Sixtygram Profile 2

6. เพิ่มประวัติของบริษัท

เราเชื่อว่าทุกบริษัทมีเรื่องราวที่ไม่เหมือนใคร ดังนั้น ให้ระบุประวัติตั้งแต่การก่อตั้งบริษัทขึ้นตามลำดับเวลาจริง บน Company Profile จากนั้นเพิ่มเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อบริษัทในช่วงลำดับเวลาสำคัญนั้น ๆ ประวัติบริษัทอันแสนน่าเบื่อจะดูน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น มีการเพิ่มจำนวนของทีมงาน หรือมี Product Line ใหม่ๆ เกิดขึ้นในบริษัทซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตที่ก้าวกระโดด

7. ระบุบริการทั้งหมดของบริษัท

Sixtygram Profile 3

ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการระบุบริการที่บริษัทมีทั้งหมด พร้อมกับรายละเอียดสำคัญของแต่ละบริการให้ชัดเจน ข้อแนะนำของเราคือให้เลือกบริการที่คุณโดดเด่นที่สุดซัก 2 – 3 รายการ และอธิบายรายละเอียดของบริการนั้นๆในเชิงลึก กลับกันที่บริการอื่น ๆ ที่คุณใส่เพียงรายละเอียดเกริ่นนำของบริการเท่านั้น

8. ใส่รีวิวและความเห็นของลูกค้า

Sixtygram Profile 4

จากสถิติของเรา ลูกค้าที่มักซื้อบริการของเราในครั้งแรกที่มีการนำเสนอ Company Profile มักสนใจความคิดเห็น(รีวิว)ของลูกค้าในอดีตของบริษัท เนื่องจากรีวิวและความคิดเห็นจากลูกค้าเก่าจะเป็นการสร้างความมั่นใจ ความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อพิสูจน์ว่าบริษัทของคุณสามารถทำงานได้จริง เช่นเดียวกับคำพูดที่ได้นำเสนอ

9. ใช้หัวข้อของแต่ละหน้าเป็นคำกระตุ้น

ผลงาน SEO ระดับล้าน

เมื่อเนื้อหาของ Company Profile ของคุณครบถ้วน หัวข้อของแต่ละหน้า(Call to Action)จะต้องไม่น่าเบื่อ เช่นในหัวข้อ ผลงานของเรา ถูกเปลี่ยนเป็นถ้อยคำที่ว่า “ความสำเร็จที่ผ่านมาของเรา” ด้วยถ้อยคำที่น่าสนใจและสร้างแรงดึงดูดในทางจิตวิทยาซึ่งนำไปสู่การสร้าง Company Profile ที่ประสบความสำเร็จในที่สุด

10. อย่าลืมเพิ่มช่องทางติดต่อในตอนท้าย

การเพิ่มช่องทางติดต่อในหน้าสุดท้ายของ Company Profile เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนมักจะมองข้าม ดังนั้น อย่าลืมที่จะใส่ข้อมูลติดต่อสำคัญอย่าง ชื่อของเซลล์(ผู้ประสานงานขาย) เบอร์โทรติดต่อ อีเมล์บริษัท ที่ตั้งสำนักงาน หรือไลน์ไอดี เพราะหลังจากการทำ Company Profile เสร็จสิ้น ลูกค้าจะติดต่อคุณอีกครั้งเพื่อทำสัญญาที่จำเป็นต่อการทำงานร่วมกัน

TAG ที่เกี่ยวข้อง:
admin
ผู้เขียน AMINTRA CHAIPAK

หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Sixtygram ดำรงต่ำแหน่งทั้ง CEO และนักการตลาดผู้เชื่อมั่นว่ากลยุทธ์ด้าน Digital Marketing จะไม่มีวันหยุดนิ่ง และจะปรับเปลี่ยในทุกๆวัน การแสวงหาความรู้เพื่อยอดต่อในธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด