Nattapat

18 มีนาคม 2024

รู้จัก 7Ps กับ Marketing Mix (ส่วนประสมทางการตลาด)

ส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)แบบดั้งเดิม ถูกคิดค้นโดยโดยศาสตราจารย์ James Culliton(เจมส์ คัลลิตัน) อาจารย์ด้านการตลาดจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างฮาร์วาร์ด ในปี 1948 และถูกพัฒนาต่อโดย E. Jerome McCarthy(เจอโรม แม็กคาร์ธี) ซึ่งได้รวมเอาผลิตภัณฑ์ ราคา การจัดวางสินค้า และกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย เข้ากับทฤษฎีการตลาดที่มีความสำคัญต่อมายาวนานกว่า 70 ปี นับตั้งแต่นั้นมา ส่วนผสมทางการตลาด(Marketing Mix)ก็ได้พัฒนาไปสู่หลัก 7 P’s อันได้แก่การพิจารณาถึง สินค้า(Product) ราคา(Price) โปรโมชั่น(Promotion) สถานที่(Place) คน(People) บรรจุภัณฑ์(Packaging) และกระบวนการ(Process)

ปัจจุบัน ในทางการตลาดเราเรียก 7 P’s คือส่วนผสมทางการตลาดที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ดังนั้น ในวันนี้เอเจนซี่การตลาด Sixtygram จะมาอธิบายแนวคิด องค์ประกอบและตอบข้อซักถามทั่วไปของทฤษฎีนี้กัน

Marketing Mix คือ

Marketing Mix แปลเป็นไทยว่า ส่วนประสมทางการตลาด คือการผสมผสานระหว่างการกระทำ(Actions)และกลยุทธ์(Strategies) Marketing Mix จึงเป็นเครื่องมือทางการตลาดสำคัญที่ธุรกิจใช้เพื่อวางแผนโปรโมตโฆษณาแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งในปัจจุบันส่วนประสมการตลาดนั้นประกอบด้วยหลัก 7 P ร่วมด้วย

The 7Ps Marketing Mix

7P สำหรับกลยุทธ์การตลาด

แนวคิดของส่วนประสมการตลาด(Marketing Mix)ดั้งเดิมมีอยู่ 4 P และถูกพัฒนาต่อมาจนเป็นรู้จักกันในชื่อ 7 P’s สำหรับการใช้เพื่อกลยุทธ์การตลาดปัจจุบัน Jerome McCarthy กล่าวในหนังสือของตน “Basic Marketing: A Managerial Approach” ว่ากลยุทธ์ 7P หมายถึง การผสมผสานของกลยุทธ์และแนวทางปฏิบัติที่ออกแบบมาอย่างพิถีพิถันซึ่งธุรกิจควรใช้ ทั้งเพื่อขับเคลื่อนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จของตน

marketing

 ในระยะแรก 4 P เกิดขึ้นจากองค์ประกอบเหล่านี้คือ 1.P จากผลิตภัณฑ์(Product) 2.P จากราคา(Price) 3.โปรโมชั่นหรือการส่งเสริมการขาย(Promotion) และ 4.P จากสถานที่(Place) ซึ่งต่อมาได้เพิ่มเข้ามาอีก 3 P ได้แก่ 5.P จากผู้คน(People) 6.P จากบรรจุภัณฑ์(Packaging) และสุดท้าย 7.P จากกระบวนการ(Process) จนเกิดเป็น “7 P” ที่เราเรียกกันในปัจจุบัน

อาจเป็นเรื่องซับซ้อนเล็กน้อย สำหรับเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก(SME)หรือผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่เริ่มต้นเรียนรู้วิธีสร้างแผนและข้อเสนอการปิดการขายที่เป็นเอกลักษณ์ หรือวิธีเข้าถึงลูกค้าที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนแพลตฟอร์มใหม่ ๆ เช่น อีคอมเมิร์ช หรือ โซเชียลมีเดียยอดนิยม

ดังนั้น กลยุทธ์การตลาด 7 Ps  จะให้แนวคิดและกรอบการทำธุรกิจแก่คุณ โดยใช้แผนการตลาดและกลยุทธ์ที่จำเป็นในการโฆษณาไปยังตลาดเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คุณยังสามารถพิจารณาองค์ประกอบของการผสมผสานในกระบวนการตัดสินใจทางการตลาดในแต่ละวันโดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดผู้ชมที่เหมาะสมเพื่อทำการตลาดให้ประสบความสำเร็จผ่านแคมเปญการตลาดของคุณ

และนี่คือหลักการขององค์ประกอบ 7 P ของส่วนประสมการตลาด มีดังนี้

1. P จาก Product (สินค้าหรือบริการ)

ลูกค้าของคุณสนใจเพียงสิ่งเดียวเท่านั้น คือ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณสามารถทำอะไรที่เป็นประโยชน์ให้พวกเขาได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ คุณควรให้ความสำคัญกับการทำให้ผลิตภัณฑ์ของคุณดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และเพิ่มประสิทธิภาพกลุ่มผลิตภัณฑ์ของคุณให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด แนวทางนี้เรียกว่า “การตลาดที่นำโดยผลิตภัณฑ์(product-led marketing)” ดังนั้น ส่วนประสมการตลาดที่คุณควรพิจารณาในแง่สินค้าและบริการ(product) ได้แก่

  • งานออกแบบ
  • คุณภาพสินค้า
  • คุณสมบัติหรือฟีเจอร์สินค้า
  • ตัวเลือกสินค้าที่หลากหลาย
  • บรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุด
  • การบทบาทสินค้าในแง่การตลาด

เพื่อให้ง่ายขึ้น เรามี 5 องค์ประกอบที่จะทำให้การพิจารณาผลิตภัณฑ์ของคุณประสบความสำเร็จ โดยต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้

  1. ปล่อยให้สินค้าหรือบริการของคุณขายตัวมันเอง มุ่งเน้นความพยายามทางการตลาดของคุณในการทำให้ผู้บริโภคอยากจะทดลองลองสิ่งที่คุณนำเสนอ เพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้คุณค่าของมันด้วยตนเอง
  2. วางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ (กับลูกค้าของคุณ) ทราบความต้องการของลูกค้าและใช้ความรู้นั้นเพื่อช่วยสื่อสารคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของคุณ
  3. คอยช่วยเหลือสินค้ายู่เสมอ วางตำแหน่งตัวเองเป็นพันธมิตรที่ดีด้วยการสร้างเนื้อหาข้อมูลของสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ท้ายที่สุดพวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะซื้อจากคุณมากขึ้น เรียกอีกอย่างว่าการตลาดเชิงเนื้อหา(Content Marketing)
  4. แบ่งปันเรื่องราวของผู้ใช้ กระตุ้นให้ลูกค้ามีความสุขเมื่อได้แบ่งปันประสบการณ์และบอกผู้อื่นว่าทำไมพวกเขาถึงชื่นชอบและใช้งานแบรนด์ของคุณ
  5. มุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ของคุณก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่คุณจะพิจารณาว่าจะขายมันได้อย่างไร ลงทุนในการพัฒนาและคุณภาพผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นผลิตภัณฑ์ที่ดีจะคอยดูแลส่วนที่เหลือให้เอง

2. P จาก Price (ราคา)

มีหลายปัจจัยและกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกำหนดราคาของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น

  • ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ให้สูงกว่าคู่แข่งเพื่อสร้างความประทับใจ และชวนเชื่อว่าสินค้าของคุณมีคุณภาพสูงกว่า
  • กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใกล้เคียงกับคู่แข่ง จากนั้นดึงความสนใจไปที่คุณสมบัติหรือคุณประโยชน์ที่แบรนด์อื่นขาดและละเลย
  • ตั้งราคาผลิตภัณฑ์ต่ำกว่าคู่แข่งเพื่อเจาะตลาดที่มีผู้สั่งซื้อหนาแน่นหรือดึงดูดผู้บริโภคที่คำนึงถึงคุณค่าของเม็ดเงินมากกว่าการใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง
  • วางแผนที่จะขึ้นราคาหลังจากก่อตั้งแบรนด์หรือลดราคาลงเพื่อผลักดันยอดขายของสินค้ารุ่นใหม่
  • กำหนดราคาเริ่มต้นให้สูง เพื่อจัดการขายแบบกลุ่มหรือทำให้โปรโมชันน่าสนใจยิ่งขึ้น

พิจารณาสิ่งที่คุณพยายามทำให้สำเร็จด้วยกลยุทธ์การกำหนดราคา และราคาจะทำงานร่วมกับกลยุทธ์การตลาดที่เหลืออย่างไร ดังนั้น คุณมีคำถามที่ต้องถามตัวเองเมื่อกำลังจะขายสินค้า ได้แก่

  • คุณจะมีผลิตภัณฑ์ระดับสูงขึ้นกว่าเคย ซึ่งต้องการเรียกราคาให้สูงขึ้นหรือไม่?
  • คุณจำเป็นต้องเข้มงวดเรื่องต้นทุนตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ลอตแรก หรือคุณสามารถตั้งราคาต่ำกว่าเพื่อดึงดูดผู้ซื้อและค่อยขยับราคาขึ้นเมื่อธุรกิจเติบโตในอนาคตได้หรือไม่?
  • คุณมีความคิดจะเสนอโปรโมชั่นส่งเสริมการขายหรือไม่?
  • มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนที่จะมีคนตั้งคำถามเรื่องคุณภาพผลิตภัณฑ์ของคุณ?
  • คุณสามารถขายได้มากครั้งแค่ไหนก่อนที่ลูกค้าจะคิดว่าผลิตภัณฑ์คุณขายเกินราคา?
  • คุณมองว่าแบรนด์ตนเองคุณค่าหรือสามารถเป็นแบรนด์ระดับสูงได้หรือไม่?

3. P จาก Promotion (โปรโมชั่น)

โปรโมชั่น หรือการส่งเสริมการขายเป็นส่วนหนึ่งของส่วนประสมทางการตลาด(Marketing Mix)ที่สาธารณชนสามารถสังเกตเห็นและได้รับความสนใจมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ การตลาดทางเนื้อหา(Content Marketing) คูปองหรือส่วนลดตามกำหนดเวลา กลยุทธ์โซเชียลมีเดีย การตลาดผ่านอีเมล โฆษณาแบบดิสเพลย์ กลยุทธ์ดิจิทัลออนไลน์(SEM) การตลาดผ่านเครื่องมือค้นหา(SEO) และการประชาสัมพันธ์ทั่วไป อื่นๆ

เมื่อเลือกใช้โปรโมัช่นส่งเสริมการขายด้วยช่องทางทั้งหมด สามารถเชื่อมโยงส่วนประสมทางการตลาดทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นกลยุทธ์ ที่สร้างประสบการณ์ที่เป็นหนึ่งเดียวสำหรับฐานลูกค้าได้อย่างยอดเยี่ยม

ยกตัวอย่างเช่น

  • ลูกค้าเห็นโปรโมชันจากหน้าร้านค้า มักใช้โทรศัพท์เพื่อตรวจสอบราคาและอ่านรีวิวก่อนเลือกซื้อ
  • ลูกค้ามักจะดูเว็บไซต์ของแบรนด์ ว่ามีลักษณะเน้นไปทางคุณค่าของแบรนด์หรือความโดดเด่นของการนำเสนอสินค้ามากกว่ากัน
  • แบรนด์ได้ขอคำวิจารณ์หลังสั่งซื้อและบทวิจารณ์ในแง่ดีควรปรากฏบนไซต์เสมอ
  • ลูกค้าซื้อผลิตภัณฑ์และคุณได้ส่งอีเมลขอบคุณโดยใช้ระบบอัตโนมัติ

คุณสามารถใช้ตัวอย่างของเราเพื่อ ใช้ประโยชน์สูงสุดจากช่องเหล่านั้นเพื่อเข้าถึงผู้ชมเป้าหมายของคุณ ดังนั้น จงแบ่งกลุ่มโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของคุณตามพฤติกรรมของลูกค้า และทดสอบการตอบสนองต่อโปรโมชันต่างๆ ของผู้สนใจแต่ละกลุ่มโดยเฉพาะ และปรับค่าใช้จ่ายทางการตลาดให้เหมาะสม โปรดจำไว้ว่าการส่งเสริมการขายไม่ใช่การเดินทางโดยใช้ตั๋วเดินทางเที่ยวเดียว ลูกค้าคาดหวังให้คุณใส่ใจกับความสนใจของพวกเขาและเสนอวิธีแก้ปัญหาได้อย่างยอดเยี่ยมเมื่อถึงเวลา

4. P จาก Place (สถานที่)

คุณจะขายสินค้าของคุณที่ไหน? คล้ายกับการพิจารณาด้าน Product (สินค้าหรือบริการ)และด้าน Price ราคาเพื่อตัดสินใจ การใช้สถานที่ถือเป็นสิ่งสำคัญที่คุณต้องพิจารณาเป็นรากฐานของการวางแผนการตลาด ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะสถานที่ตั้งหน้าร้านเท่านั้น ลองตั้งคำถามกับธุรกิจตนเองดูว่า:

  • ผู้คนจะค้นหาผลิตภัณฑ์ของคุณได้จากที่ไหน?
  • ผู้คนจำเป็นจะต้องเข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ได้หรือไม่?
  • คุณจะได้รับยอดขายเพิ่มขึ้นจากการทำการตลาดทจากเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณเอง หรือผู้ซื้อจะมองหาคุณในตลาดของอีคอมเมิร์ซของบุคคลที่สาม?
  • คุณต้องการสนทนากับลูกค้าของคุณโดยตรงในขณะที่พวกเขาซื้อ หรือคุณต้องการให้นายหน้าหรือตัวแทนเข้ามาบริการลูกค้าแทนคุณหรือไม่?

5. P จาก People (ผู้คน)

ผู้คน หมายถึง ใครก็ตามที่ติดต่อกับลูกค้าของคุณ แม้จะโดยตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ดังนั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณกำลังสรรหาผู้ที่มีความสามารถ ไม่เพียงแค่ฝ่ายบริการลูกค้าหรือในฝ่ายขายของธุรกิจเท่านั้น

นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อให้แน่ใจว่าคนของคุณ(People)จะสร้างผลลัพธ์ที่ถูกต้องต่อลูกค้าของคุณ หากพิจารณาตามข้อสังเกต ดังนี้

  • พัฒนาทักษะนักการตลาดที่ดีแก่ผู้คนของคุณ เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าใจและดำเนินกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด(Marketing Mix)ตามเป้าหมายของคุณได้
  • คิดถึงวัฒนธรรมของบริษัทและภาพลักษณ์ของแบรนด์
  • มุ่งเน้นไปที่การจัดการลูกค้าสัมพันธ์หรือ CRM ซึ่งสร้างการเชื่อมต่อที่แท้จริงและสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความภักดีต่อธุรกิจในระดับบุคคลให้แก่ผู้คนทุกคนของคุณ

6. P จาก Packaging (บรรจุภัณฑ์)

บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ซื้อรายใหม่ในตลาดที่มีผู้คนหนาแน่น และเสริมสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าที่กลับมาซื้อซ้ำได้เสมอ ต่อไปนี้เป็นวิธีทำให้บรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ดีขึ้นสำหรับคุณ ดังนี้

  • การออกแบบเพื่อสร้างความแตกต่าง การออกแบบที่ดีช่วยให้ผู้คนจดจำแบรนด์ของคุณได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถเน้นคุณลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นบริษัทแชมพู คุณสามารถใช้สีที่ต่างกันบนบรรจุภัณฑ์เพื่อติดป้ายกำกับประเภทเส้นผมที่แตกต่างกันได้
  • ให้ข้อมูลอันมีคุณค่ากับบรรจุภัณฑ์ของคุณ ศึกษาผลิตภัณฑ์และเสริมคุณค่าให้กับแบรนด์ ใส่คำแนะนำที่ชัดเจน เต็มไปด้วยความรู้ที่น่าสนใจ หรือองค์ประกอบที่แปลกใหม่เพื่อสร้างความประหลาดใจและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วยไอเดียที่เฉียบคม
  • เพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ทำให้บรรจุภัณฑ์เกินความคาดหมายสำหรับลูกค้าของคุณ และมอบสิ่งพิเศษที่มีตราสินค้าซึ่งได้รับการออกแบบอย่างดีร่วมกับผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า เช่น แปรงสีฟันฟรีจากทันตแพทย์ การเพิ่มปริมาณของขนมในซอง หรือแถมคู่มือจัดแต่งทรงผมฟรีจากสีทำผมโดยนักจัดแต่งทรงผมชื่อดัง

7. P จาก Process (กระบวนการ)

จัดลำดับความสำคัญของกระบวนการที่ทับซ้อนโดยอย่างเป็นระบบและระเบียบ ทำให้กระบวนการทำงานของทีมงานคุณตรงประเด็นและราบรื่นมากขึ้น เมื่อพนักงานของคุณก็สามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วมากขึ้น โดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การทำงานตามขั้นตอนต่างๆที่ยุ่งยาก พวกเขาจะให้ความสนใจกับลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งส่งผลไปยังประสบการณ์ส่วนบุคคลและประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมของลูกค้าที่จะได้รับ

ดังนั้น จงตั้งคำถามการปรับปรุงกระบวนการการทำงาน ดังนี้

  • โลจิสติกส์(การขนส่ง)ในช่องทางการจัดจำหน่ายหลักของคุณคุ้มต้นทุนอยู่หรือไม่?
  • การจัดการกับกำหนดการในการจัดส่งของคุณเป็นอย่างไร?
  • ผู้ค้าปลีกหรือตัวแทนของคุณจะมีผลิตภัณฑ์เพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่?
  • คุณมีพนักงานเพียงพอในช่วงเวลาวุ่นวายหรือไม่?
  • บริการจัดส่งสินค้าจากเว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือหรือไม่?
  • หากคุณได้รับการร้องเรียนจากลูกค้ามากกว่าหนึ่งรายการเกี่ยวกับกระบวนการใดๆ ให้ระบุสิ่งที่ผิดพลาดและหาวิธีแก้ไขโดยด่วน

FAQ: ส่วนประสมการตลาด(Marketing mix)

การทำความเข้าใจส่วนประสมทางการตลาด(Marketing mix)และหลัก 7 P อาจทำให้เกิดคำถามมากมาย Sixtygram จึงตั้งใจจะตอบคำถามที่พบบ่อยเพื่อช่วยคุณเข้าใจและเริ่มสร้างส่วนประสมทางการตลาดของคุณเองได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างส่วนประสมทางการตลาด

ตัวอย่างร้านสะดวกซื้อ

ตัวอย่างที่ดีของส่วนประสมทางการตลาดอาจเป็นร้านสะดวกซื้อ ในกรณีนี้ เราจะพิจารณาจากร้านสะดวกซื้อที่มีเครือข่ายมากมายซึ่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย รวมถึงอาหารสดและอาหารสำเร็จรูป เครื่องมือ ของใช้ในครัวเรือนและในครัว นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งใช้หลัก 7 P ดังนี้

  1. P: Product(สินค้า) ส่วนใหญ่อาหารและสิ่งของต่างๆ ถูกคัดเลือกด้วยผู้ตรวจสอบจากสำนักงานใหญ่ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างพิถีพิถันในทุกขั้นตอน
  2. P: Price(ราคา) ราคาอาจสูงกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่น โดยมีข้อดีชดเชยคือความสะดวกสบาย ความแปลกใหม่ สีสันและความสนุกสนานเพื่อเพิ่มความน่าดึงดูด
  3. P: Place(สถานที่) สถานที่ตั้งควรเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้นทำเลควรอยู่ใกล้ย่านที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า ศูนย์การศึกษา ฯลฯ
  4. P: Promotion(โปรโมชั่น) การโฆษณาจะถูกจำกัดอยู่ในป้ายของตัวอาคารและร้านค้า หน้าโซเชียลมีเดีย เพจประจำเมือง ท้องถิ่น และอื่นๆ
  5. P: People (ผู้คน) การจัดสัมนาและอมรมพนักงานขายหน้าร้าน ให้บริการเป็นมิตรและมีชุดคำพูดและโทนเสียงที่น่าฟัง ให้ความเคารพแก่ลูกค้า
  6. P: Packaging (บรรจุภัณฑ์) การออกแบบชั้นวางสินค้าให้เข้าใจง่าย สินค้าถูกจัดวางและบรรจุในลักษณะที่ให้ความสะดวกและเน้นที่ประโยชน์ใช้สอย
  7. P: Process (กระบวนการ) ใช้ระบบการจัดการด้วยซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ ทำให้พนักงานขายมีเวลาช่วยเหลือลูกค้าและสนใจที่จะแนะนำสินค้าได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างบริการสตรีมมิ่ง

อีกตัวอย่างหนึ่งอาจเป็นบริการสตรีมมิ่ง โดยใช้หลัก 4 P ดังนี้

  1. P: Product(สินค้า) ความบันเทิงของวีดีโอคุณภาพและการเข้าถึงการรับชมที่สะดวกสบาย
  2. P: Price(ราคา) ข้อเสนอทดลองใช้ฟรี แพ็คเกจพรีเมียม และระดับการสมัครสมาชิกที่ยืดหยุ่น
  3. P: Place(สถานที่) คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนของผู้ใช้งาน
  4. P: Promotion(โปรโมชั่น) โฆษณาผ่านช่องทางและแพลตฟอร์มโซเชีนลมีเดียต่างๆ รวมถึงป้ายโฆษณาในเมือง นิตยสาร เป็นต้น

ประเภทของส่วนผสมทางการตลาด
(Marketing Mix)

ในความเป็นจริง มีส่วนผสมของการตลาดหลายประเภทพอๆ กับจำนวนของธุรกิจที่ดำเนินธุรกิจในโลก เพื่อการทำความเข้าใจที่ง่ายยิ่งขึ้น นี่คือ 7 ประเภทของส่วนประสมทางการตลาดที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่

  1. ส่วนประสมของผลิตภัณฑ์(Product Mix) 
  2. ส่วนประสมวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(Product Life Cycle)
  3. ส่วนประสมการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์(Positioning Mix)
  4. ส่วนประสมทางบริการ(Service Mix)
  5. ส่วนประสมการส่งเสริมการตลาดผ่านโปรโมชั่น (Promotional Mix)
  6. ส่วนประสมช่องทางการจัดจาหน่าย(Channel Mix)
  7. ส่วนประสมการตลาดระหว่างประเทศ(International Marketing Mix)

หากมองดูแล้ว การนำเสนอคุณค่าของแบรนด์และการส่งเสริมโปรโมชั่นอาจมองดูแล้วไม่ได้อยู่ใน 7 ประเภทของส่วนประสมทางการตลาดดังที่เรายกตัวอย่างโดยตรง 

อย่างไรก็ดี หากมองในภาพรวมของธุรกิจคุณจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น ธุรกิจร้านสะดวกซื้อคือส่วนประสมทางบริการ(Service Mix) เนื่องจากความสะดวกเป็นมูลค่าหลักที่เราจะนำเสนอ และบริการสตรีมมิ่งนั้นถือเป็นส่วนประสมของผลิตภัณฑ์(Product Mix)เนื่องจากความบันเทิงของวีดีโอคุณภาพเป็นมูลค่าหลักที่ถูกนำเสนอ เป็นต้น

บทสรุปส่งท้าย

ส่วนประสมทางการตลาดและหลัก 7 P ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับการออกแบบและดำเนินการเข้าถึงลูกค้าสำหรับธุรกิจทุกประเภท ด้วยการจัดทำแนวทางที่มีแผนการตลาดด้วยหลักเหตุและผล ท้ายที่สุดคุณจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อทำความเข้าใจจากพื้นฐานที่มีอยู่ของแบรนด์

การผสมผสานระหว่าง 7P และส่วนประสมการตลาดไว้ในแผนการตลาดของคุณจะช่วยให้คุณทำความเข้าใจกับความสำเร็จทางธุรกิจไปอีกขั้น ทำให้เกิดแนวและแผนการทางที่สอดคล้องกัน การเรียนรู้หลัก 7P และส่วนประสมการตลาด ช่วยให้เข้าใจธุรกิจได้อย่างครอบคลุมว่าแต่ละส่วนประกอบมีอิทธิพลต่อส่วนประกอบอื่นๆ อย่างไร โดยมุ่งเป้าไปเพื่อประสบการณ์ของลูกค้าที่ราบรื่น ตั้งแต่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการปรับปรุงการรับรู้มูลค่าผลิตภัณฑ์ 7P แต่ละข้อควรได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบ ตัวอย่างเช่น การประเมินราคาผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์การส่งเสริมการขาย ในขณะที่การมีส่วนร่วมของพนักงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน การเพิ่มประสิทธิภาพทั้งทีมและทรัพยากรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของธุรกิจที่ยั่งยืนในท้ายที่สุด