ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ Freelance(ฟรีแลนซ์)เป็นอาชีพที่มีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากการทำงานอิสระแบบฟรีแลนซ์นั้นสามารถ Work Any where หรือสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้(Work Remote) แถมยังมีความยืดหยุ่นสูง ข้อดีของการรับทำฟรีแลนซ์คือการออกมาจากกรอบความคิดแบบเดิม ในปัจจุบันจึงมีงานฟรีแลนซ์ที่กำลังเปิดรับสมัครจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ไปจนถึงงานนักแปล อย่างไรก็ตาม การหางานฟรีแลนซ์ที่เหมาะสมกับตัวคุณที่สุดยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้น เราจะรวบรวมผลงานยังไงให้เข้าตาผู้ว่าจ้างที่สุด? ให้เราช่วยสร้าง Portfolio ให้คุณได้เลย ปรึกษาฟรี!
หากคุณกำลังมองหาอิสระในการทำงานฟรีแลนซ์ หากแต่ยังไม่รู้ว่า จะสมัครงานฟรีแลนซ์ที่เว็บไหนดี? ในบทความนี้ของ Sixtygram ขอนำเสนอ 7 อันดับ เว็บไซต์หางานฟรีแลนซ์ที่ดีที่สุด และมีตัวเลือกหลากหลาย เหมาะสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นจะหางานฟรีแลนซ์ในปี 2024 พร้อมรับงานจากผู้ว่าจ้าง!
มาสำรวจเว็บไซต์ที่น่าสนใจกันเถอะ!
1. Fiverr
Fiverr คือ แพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงฟรีแลนซ์กับเจ้าของธุรกิจที่กำลังมองหาบริการในด้านการตลาดดิจิทัลต่างๆ จากประเทศอิสราเอล มีการจ้างงานฟรีแลนซ์ตั้งแต่ การออกแบบเว็บไซต์ การเขียนเนื้อหาคอนเทนต์ ไปจนถึงการพากย์เสียง นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเว็บไซต์ฟรีแลนซ์ชั้นนำที่ดีที่สุดสำหรับนักศึกษาอีกด้วย และเว็บไซต์ Fiverr หางานสำหรับสาย Freelance นั้น ยังเปิดโลกแห่งการขายที่มีศักยภาพอย่างมาก ด้วยการมีผู้จ้างงานที่ใช้งานอยู่ในเว็บไซต์ถึง 3.42 ล้านราย ทำให้การหางานฟรีแลนซ๋สนุกและหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ประเภทการทำงาน | การตลาดดิจิทัล การพัฒนาเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย ฯลฯ |
ข้อดี | มีงานหลากหลายประเภท(diverse category), ลงทะเบียนฟรี(free registration), หลักสูตรออนไลน์(online courses) |
จุดด้อย | ค่าคอมมิชชันสูง(high commission charge), ระยะเวลาในการทำจ่ายนาน(long payment process) |
Website | Fiverr |
2. Upwork
Upwork เป็นเว็บไซต์หางานฟรีแลนซ์ที่เชื่อมโยงลูกค้าและฟรีแลนซ์จากทั่วโลก เป็นแพลตฟอร์มที่มีหมวดหมู่งานหลากหลาย ตั้งแต่การออกแบบเว็บไซต์และการพัฒนาซอฟต์แวร์ ไปจนถึงการบริการลูกค้าและงานด้านบัญชี Upwork มีการไต่แรงค์หรือการเลื่อนขั้น กล่าวคือยิ่งคุณรับงานมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจ่ายค่า fee น้อยลงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ค่าคอมมิชชันเริ่มต้นที่ 20% สำหรับการเรียกเก็บเงินครั้งแรกจำนวน $500 และค่าบริการในการหักค่าคอมมิชชั่นจะค่อยๆ ลดลงเมื่อคุณได้รับเงินมากขึ้น อีกทั้งยังมีหลายทางเลือกในการถอนเงิน รวมถึงการโอนเงินโดยตรงผ่านระบบ PayPal และการโอนเงินผ่านธนาคาร
ประเภทการทำงาน | การตลาด การสร้างแบรนด์ การเขียนโปรแกรม การออกแบบเว็บไซต์ ฯลฯ |
ข้อดี | มีระบบป้องกันการชำระเงิน(payment protection), ผู้จ้างงานหรือลูกค้าที่น่าเชื่อถือ(credible clients), รายได้ตามเนื้องานจริง(budget-based projects) |
จุดด้อย | ระยะเวลาในการคอนเฟิร์มงานค่อนข้างนาน(lengthy selection process), ค่าบริการสูง(high service fee) |
Website | Upwork |
3. LinkedIn
LinkedIn เป็นหนึ่งในไซต์หางานยอดนิยมในการหางานในสาขาต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กสำหรับมืออาชีพในการเชื่อมต่อและโต้ตอบระหว่างกัน เพียงแค่คุณลงทะเบียนและสร้างโปรไฟล์เพื่อเริ่มต้นใช้งาน ใส่ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ทักษะการทำงาน ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานของคุณ โปรไฟล์ LinkedIn ที่มีรายละเอียดครบถ้วนจะนำทางคุณไปสู่ความสามารถในการเปิดโอกาสในการทำงานได้มากขึ้น เพียงลงทะเบียนและสร้างโปรไฟล์เพื่อเริ่มต้น ใส่ข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ทักษะ การศึกษา และประสบการณ์การทำงานของคุณ โปรไฟล์ LinkedIn ที่ครอบคลุมสามารถเปิดโอกาสในการทำงานได้มากขึ้น
ประเภทการทำงาน | การเขียนบทความโฆษณา การแปล การออกแบบกราฟิก ฯลฯ |
ข้อดี | มีโอกาสในการสร้างคอนเนคชั่นสูง(networking opportunities), มีการอัพเดทข่าวสารอยู่เสมอ(recent news updates), รายได้คุ้มค่า(cost-effective) |
จุดด้อย | เนื้อหาสแปมจากผู้ใช้ที่เป็นอันตราย(spam content from malicious users) |
Website |
4. Freelancer.com
Freelancer.com เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์หางาน Freelance ที่ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัททั่วโลกให้ความร่วมมือกันในโปรเจคงานต่างๆ ด้วยความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ลูกค้าจึงสามารถค้นหางานทุกประเภทได้อย่างง่ายดาย โดยคุณสามารถสมัครเป็นฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจได้ การลงทะเบียนเป็นฟรีแลนซ์จะต้องกรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนสั้นๆ กรอกข้อมูลโดยละเอียด รวมถึงเขียนอธิบายทักษะการทำงาน ประวัติการศึกษา และประสบการณ์การทำงานให้ครบถ้วน นอกจากโปรเจ็กต์การทำงานแล้วยังมีระบบประกวดผลงานของฟรีแลนซ์ในเว็บไซต์อีกมากมาย เช่น การประกวดงานภาพหรืองานออกแบบ ทำให้โปรไฟล์มีคนเข้าถึงและสร้างรายได้ได้มากขึ้น
ประเภทการทำงาน | การแปลเนื้อหา การพัฒนาเว็บไซต์ การตลาดบนโซเชียลมีเดีย ฯลฯ |
ข้อดี | สามารถติดตามความคืบหน้าของงานได้(progress tracker), มีระบบแอดมินตอบแชท(live chat), ช่วยเหลือลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน(24/7 customer support) |
จุดด้อย | ผู้สมัครที่เป็นสแปมหรือลูกค้าปลอม(spam applicants, and fake clients) |
Website | Freelancer.com |
5. Toptal
Toptal เป็นเว็บไซต์หางานฟรีแลนซ์ที่เชื่อมโยงผู้ว่าจ้างในสายฟรีแลนซ์ที่มีคุณสมบัติสูงเปรียบเทียบเหมือนเข้าทำงานด้วยระบบบริษัทต่างๆ Toptal มีฟรีแลนซ์มากมาย ตั้งแต่นักพัฒนาเว็บไซต์และนักออกแบบเว็บไซต์ ไปจนถึงที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการผลิตภัณฑ์ การสมัครเข้าร่วมเว็บไซต์ Toptal ในฐานะฟรีแลนซ์ต้องผ่านกระบวนการคัดกรองหลักๆ ห้าขั้นตอน ตั้งแต่การประเมินระดับภาษาอังกฤษแบบครอบคลุม ไปจนถึงการประเมินผลงานกระบวนการนี้ทำให้มั่นใจได้ว่ามีเพียง 3% แรกเท่านั้นที่จะเข้าสู่แพลตฟอร์ม ทำให้เว็บไซต์มีคุณภาพมาก ซึ่งหลังจากผ่านขั้นตอนทั้งหมดแล้ว คุณจะสามารถเข้าถึงโพสต์รับสมัครงานต่างๆ จากลูกค้าและบริษัทชั้นนำ เช่น Motorola และ Airbnb ได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ผ่านการสมัครเข้าทำงานจะทำให้การสมัครเข้าเว็บไซต์อีกครั้งถูกระงับเป็นเวลาสามเดือน
ประเภทการทำงาน | การพัฒนาซอฟต์แวร์ การให้คำปรึกษาทางการเงิน การจัดการชั่วคราว ฯลฯ |
ข้อดี | รวมบริษัทชั้นนำ(top-tier companies and talen), บริการออกใบแจ้งหนี้และการชำระเงินฟรี(free invoicing and payments) |
จุดด้อย | ระบบการคัดกรองฟรีแลนซ์ที่รัดกุม(extensive screening process), เหมาะสำรับผู้ที่มีโปรเจคใหญ่ๆ เท่านั้น(big projects only) |
Website | Toptal |
6. Jooble
Jooble คือ เว็บไซต์หางานสำหรับสายฟรีแลนซ์โดยมีเครื่องมือค้นหาตำแหน่งงานที่ยังว่างและรวบรวมงานจากแหล่งที่มากว่า 140,000 แห่งทั่วโลก รวมถึงเว็บไซต์ของบริษัท บอร์ดงานออนไลน์ แพลตฟอร์มฟรีแลนซ์ โซเชียลเน็ตเวิร์กต่างๆ ข้อได้เปรียบที่สำคัญของการใช้เว็บ Jooble นั้นคือการที่คุณไม่จำเป็นต้องต้องสมัครงานหลายแพลตฟอร์ม เพราะทาง Jooble รวบรวมงานจากทุกเว็บไซต์มาไว้ที่นี้ที่เดียว แต่ Jooble จะช่วยให้คุณหางานในเขตพื้นที่ที่คุณอยู่เท่านั้น
ประเภทการทำงาน | การเขียน การออกแบบกราฟิก การป้อนข้อมูล ฯลฯ |
ข้อดี | การค้นหางานแบบรวมศูนย์(centralized job discovery), การแจ้งเตือนงานทางอีเมล(email alerts), ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน(no signup necessary) |
จุดด้อย | ไม่มีการสมัครด่วน – ต้องกดสมัครจากต้นทางเว็บไซต์ตามที่มาของตำแหน่งงานว่างแต่ละตำแหน่งเท่านั้น |
Website | Jooble |
7. Fastwork
Fastwork คือ แพลตฟอร์มหางานฟรีแลนซ์ยอดนิยมในไทย ที่อำนวยความสะดวกระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง(ฟรีแลนซ์)ให้มาเจอกันได้ง่ายขึ้น ผ่านบอร์ดโพสต์โปรไฟล์ผลงานของฟรีแลนซ์เฉพาะด้าน โดย Fastwork ให้บริการทั้งแบบฟรีแลนซ์ส่วนตัวและฟรีแลนซ์สำหรับธุรกิจ สิ่งที่ทำให้ Fastwork โดดเด่นคือระบบแสดงผลงานที่ผ่านมาของฟรีแลนซ์รายนั้นๆเพื่อให้ผู้ว่าจ้างพิจารณาก่อนเลือกจ้าง ทั้งยังสามารถตรวจสอบจำนวนครั้งและรีวิวการจ้างงานที่ผ่านมาของฟรีแลนซ์ที่เลือกได้
ประเภทการทำงาน | รับวาดรูป ช่างแต่งหน้า ถ่ายรูปรับปริญญา ออกแบบโลโก้ CI ทำการตลาด ออกแบบแบนเนอร์ เขียนบทความ ฯลฯ |
ข้อดี | มีงานหลากหลายประเภท(diverse category), ลงทะเบียนฟรี(free registration), รายได้คุ้มค่า(cost-effective) |
จุดด้อย | ระยะเวลาตอบกลับขึ้นอยู่กับฟรีแลนซ์, ค่าบริการผันแปรตามรีวืวการจ้างงาน |
Website | Fastwork |