ณัฐภัทร

3 เมษายน 2024

รู้จัก WordPress เครื่องมือสร้างเว็บที่รองรับทุกการใช้งาน

WordPress คืออะไร?

WordPress(เวิร์ดเพรส) คือชื่อเรียกของเครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปที่มีระบบจัดการภายใน(CMS)ครบครัน โดยเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งลงบนโฮสติ้ง ปรับแต่งรูปลักษณ์และเพิ่มเนื้อหาของเว็บไซต์ ควบคู่กับการใช้ “ธีม(Theme)” หรือ “ปลักอิน(plugin)” สำเร็จรูป ทำให้ WordPress เป็นเครื่องมือเหมาะสำหรับการสร้างเว็บไซต์ทุกรูปแบบที่เน้นความง่ายดายสะดวกและรวดเร็ว เช่น เว็บบล็อก เว็บไซต์ทางธุรกิจ(Service) และเว็บร้านค้าปลีกที่ใช้ Plugin Woocomerce ในการบริหารจัดการ เป็นต้น

Wordpress คือ

ปัจจุบัน มากกว่า 43% หรือกว่า 810 ล้านเว็บไซต์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตล้วนสร้างขึ้นจาก WordPress ซึ่งถือเป็น 65% ของส่วนแบ่งการตลาดระบบจัดการเว็บไซต์สำเร็จรูป(CMS)เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่าง Wix, Joomla, Shopify และอื่นๆ

ผู้ค้นหา Wordpress

ตัวอย่างเว็บไซต์ชื่อดังที่ใช้ WordPress เช่น Whitehouse.gov(ทำเนียบขาว), Microsoft, unicef และGRAB เป็นต้น

WordPress ใช้งานฟรี

Wordpressฟรี

WordPress ถือเป็นซอฟแวร์ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส(open-source) ที่ผู้นำไปใช้งานสามารถปรับแต่ง ดัดแปลงและแก้ไขได้ฟรีทุกประการ เหตุผลที่ WordPress เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีและใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายนั่นก็เพราะว่าทางผู้พัฒนา WordPress เองต้องการให้เหล่านักพัฒนาอิสระสามารถต่อยอดงานของตนอย่างไรข้อจำกัด ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ WordPress กลายเป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดอยู่เสมอ

อย่างไรก็ดี แม้ตัว WordPress เองจะสามารถใช้งานได้ฟรี หากแต่บางธีม(Theme) หรือ ปลักอิน(plugin) ที่เป็นส่วนเสริมสำเร็จรูปในการพัฒนาเว็บไซต์อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบธีมและปลักอินที่เลือกใช้ควบคู่กับตัว WordPress

เริ่มต้นใช้งาน WordPress กันเลย

การเริ่มสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress คุณไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องโค้ดหรือมีทักษะโปรแกรมมิ่งแต่อย่างใด เนื่องด้วย WordPress เป็นเครื่องมือ Zero-code คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ภายในไม่กี่คลิก เพียงปฎิบัติตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้

ดาวน์โหลด Wordpress
  1. ดาวน์โหลดไฟล์ WordPress จาก https://wordpress.org/download/
  2. ติดตั้ง WordPress บนโฮสติ้ง Web Server ของคุณ ซึ่งในบางโฮสติ้งจะมี WP Toolkit ที่สามารถติดตั้ง WordPress ได้ในคลิกเดียว เช่น HOSTNEVERDIE และ HostAtom
  3. เริ่มใช้งาน WordPress ด้วยธีมและปลักอินได้ทันที

เมื่อติดตั้ง WordPress เสร็จสิ้น คุณสามารถเพิ่มส่วนประกอบของ WordPress ที่ต้องการได้ ไม่ว่าจะเป็น ธีม หรือ ปลักอิน ที่ใช้สำหรับเป้าหมายในการสร้างเว็บไซต์ขึ้น

ข้อดีและข้อเสียของ WordPress

ข้อดี WordPress

1. ง่ายต่อการติดตั้ง

ติดตั้ง Wordpress

WordPress เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเอง เพียงคลิกดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้ง WordPress เข้าสู่โฮสติ้ง ซึ่งผู้ใช้งาน WordPress ไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดหรือทักษะโปรแกรมมิ่งมาก่อน

2. ใช้งานง่าย

draganddrop e1709485253623

ตัวระบบหลังบ้านของ WordPress ออกแบบมาให้เป็นมิตรต่อผู้ใช้ทั่วไป ด้วยดีไซน์ UI ของเครื่องมือปรับแต่งหน้าเว็บที่เข้าใจง่าย เพียงลากเม้าส์และวางบล็อกคุณก็จะได้เว็บไซต์พร้อมใช้งานจากดีไซน์ของตัวคุณเอง ทั้งยังมีคู่มือสำหรับธีมและปลักอินที่เลือกใช้งานให้ศึกษาเสมอ

3. ราคาถูกและคุ้มค่า

WordPress เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือเจ้าของธุรกิจที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยตนเองแบบประหยัด เพียงคลิกดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้ง WordPress เข้าสู่โฮสติ้ง ซึ่งผู้ใช้งาน WordPress ไม่จำเป็นจะต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดหรือทักษะโปรแกรมมิ่งมาก่อน

4. ทำ SEO ให้อันดับที่ดีกว่า

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ WordPress ได้รับความนิยมเนื่องจากเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ระบบ CMS ของ WordPress เป็นมิตรต่อการจัดอันดับ SEO เนื่องจากเว็บไซต์จำนวนมากใช้งาน WordPress ทำให้ Google bot คุ้นเคยกับระบบภายในเว็บไซต์และอัลกอริทึ่มของ Google Seach Engine จะเข้าถึงและเข้าใจจัดอันดับเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

5. ปรับแต่งได้ดั่งใจต้องการ

wordpress themeforest

เว็บไซต์ที่พัฒนาด้วย WordPress เปิดกว้างให้ผู้พัฒนาอิสระเพิ่มสามารถธีมหรือปลักอินอย่างไร้ข้อจำกัด เช่น

  • หากคุณต้องการดีไซน์เว็บไซต์ที่พร้อมใช้งานทันที เพียงเลือกซื้อจาก themeforest.net
  • หากคุณต้องการเว็บไซต์จองคิว สามารถใช้ปลักอิน Amelia booking
  • หากคุณต้องการให้ลูกค้าติดต่อด้วยแบบฟอร์ม สามารถใช้ปลักอิน  Contact Form
  • หากคุณต้องการเว็บไซต์ร้านค้าปลีกออนไลน์ สามารถใช้ปลักอิน WooCommerce

ปัจจุบัน WordPress มีธีมฟรีให้เลือกมากกว่า 5,000 ธีม และกว่า 50,000 ปลักอิน ที่มาจากผู้พัฒนาอิสระในระบบ ทำให้มั่นใจได้ว่าการใช้ WordPress จะสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับประเภทเว็บไซต์ทุกรูปแบบได้

ข้อเสีย WordPress

1. การบำรุงรักษาทำได้ยาก

หนึ่งในข้อเสียสำคัญของ WordPress คือการที่ระบบทั้งหมดแทบจะเป็นแบบสำเร็จรูป เมื่อเกิดปัญหากับรหัสต้นฉบับ(Source code) หรือเกิดการทำงานที่ผิดพลาดระหว่างปลักอินขึ้น คุณจำเป็นจะต้องใช้ทักษะด้านโปรแกรมมิ่งในการแก้ไข ดังนั้น แม้การสร้างเว็บไซต์ด้วย WordPress เป็นเรื่องง่าย หากแต่การบำรุงรักษานั้นเป็นเรื่องยาก

2. มีข้อจำกัดด้านการพัฒนาที่ซับซ้อน

เมื่อ WordPress ถูกออกแบบมาให้เป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่สามารถใช้ธีมและปลักอินเป็นฟังก์ชั่นต่อขยาย การสร้างเว็บไซต์โดยต้องการฟีเจอร์ที่ซับซ้อนและเฉพาะเจาะจงนั้นเป็นเรื่องยาก เนื่องจากธีมและปลักอินที่ออกแบบมาเพื่อ WordPress จะเน้นไปที่ฟีเจอร์การทำงานแบบกว้างและเป็นระบบพื้นฐานทั่วไปเป็นหลัก กล่าวคือ หากธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจที่ต้องการเว็บไซต์ที่มีระบบซับซ้อนและเฉพาะกลุ่ม(Niche) การเลือกเว็บไซต์ที่เขียนด้วยโค้ดจะตอบโจทย์การทำงานมากกว่า

3. ไม่สามารถย้ายเว็บไซต์ข้ามแพลตฟอร์มได้

หากคุณต้องการย้ายเว็บไซต์ที่ใช้ระบบ WordPress ไปยังระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปอื่น Wix, Joomla, Shopify เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ WordPress ไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก WordPress มักจัดเก็บเนื้อหาของเว็บไซต์เป็นระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์(Relational Database) ซึ่งยากต่อการดัดแปลง 

4. เว็บไซต์ช้าลงหากใช้ปลักอินจำนวนมาก

โดยทั่วไปแล้ว หากคุณต้องการเว็บไซต์ WordPress ที่มีฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลาย ก็ย่อมต้องติดตั้งปลักอินในจำนวนที่มากขึ้น หากแต่การติดตั้งปลักอินจำนวนมากจะทำให้เว็บไซต์ของคุณช้าลงอย่างเห็นได้ชัด ในบางกรณีคุณอาจต้องการใช้งานเพียงฟังก์ชั่นเดียวของปลักอินนั้นๆ หากแต่คุณจำเป็นจะต้องเปิดการทำงานของระบบปลักอินทั้งหมดไว้ตลอดเวลา

คำถามที่พบบ่อย

WordPress.com ใช้งานได้ง่ายกว่า เนื่องจากมีโฮสติ้งและซอฟแวร์ที่จำเป็นให้บริการ หากแต่ WordPress.org นั้นคุณจำเป็นต้องจัดหาโฮสติ้งและโดเมนมาเพื่อติดตั้งระบบ WordPress ด้วยตนเอง ซึ่งจะมอบอิสระในการปรับแต่งเว็บไซต์ได้มากกว่าแบบแรก

หากคุณกำลังตัดสินใจว่า WordPress เว็บไซต์ หรือ เขียนเว็บไซต์ด้วยโค้ด(Coding) แบบไหนดีกว่ากัน? เราจะสรุปให้ว่า WordPress เหมาะสำหรับผู้ต้องการสร้างเว็บไซต์ด้วยวิธีที่รวดเร็วและพร้อมใช้งานได้ทันที หากคุณไม่มีความรู้เรื่องการเขียนโค้ดหรือทักษะโปรแกรมมิ่ง WordPress คือคำตอบ แต่หากคุณต้องการเว็บไซต์ที่มีฟีเจอร์เฉพาะเจาะจงและซับซ้อนขึ้นรวมถึงต้องการเจาะลึกและเข้าถึงทุกแง่มุมของเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์โดยเขียนโค้ดตั้งแต่ต้นจะเหมาะสมมากกว่า

WordPress ถูกสร้างขึ้นในปี 2003 ซึ่งถูกพัฒนาต่อยอดจากโปรเจค b2/cafelog โดยแมตต์ มัลเลนเว็ก บล็อกเกอร์ชาวอเมริกัน และไมค์ ลิตเทิล นักพัฒนาและนักเขียนเว็บไซต์ชาวอังกฤษ ที่ร่วมกันพัฒนา เดิมที WordPress พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการสร้างเว็บบล็อก(Blog)PHP และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL หากแต่ในเวลาต่อมา WordPress ได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าเป็นระบบจัดการเนื้อหา(CMS)ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างและออกแบบเว็บไซต์ทุกประเภทได้

ปัจจุบัน WordPress ถูกบริหารงานโดยบริษัท Automattic Inc. ซึ่ง แมตต์ มัลเลนเว็ก ยังดำรงตำแหน่งเป็น CEO โดยยังคงยึดมั่นให้ WordPress เป็นซอฟแวร์ CMS แบบ open source เสมอมา

เดิมที WordPress เน้นการสร้างเว็บไซต์ประเภทบล็อกโพสต์(blog)เป็นหลัก หากแต่ในปัจจุบันเมื่อนักพัฒนาเว็บไซต์หันมาใช้งาน WordPress อย่างแพร่หลาย คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ทุกประเภทได้ด้วย WordPress ประกอบกับธีมและปลักอินที่ทำงานร่วมกันในหนึ่งโปรเจค ไม่ว่าจะเป็น

  • เว็บไซต์องค์กร
  • ร้านค้าออนไลน์ (E-Commerce)
  • บล็อกส่วนตัว
  • เว็บพอร์ตสะสมผลงาน, Resume
  • เว็บสำนักข่าว
  • เว็บไซต์สมัครสมาชิก
  • เว็บดูหนังออนไลน์
  • อื่น ๆ
Nattapat
ผู้เขียน ณัฐภัทร ยอดนิล

ผู้ชื่นชอบการทำเว็บไซต์ และสร้าง UI ดีไซน์แนวโมเดิร์น ณัฐภัทรเชื่อว่าความสนุกของการทำการตลาดออนไลน์คือการส่งมอบคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสูงและน่าจดจำ มากกว่าจำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกมา